วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ถ่ายภาพให้สวยด้วยจุดตัด 9 ช่อง

กฎ 3 ส่วนและ จุดตัด 9 ช่อง เป็นพื้นฐานสำคัญในการถ่ายภาพ เลยละพี่น้องครับ ในภาพถ่าย ไม่ว่าจะตั้งหรือนอนให้เพื่อนๆ แบ่งออกเป็น 3 ส่วนเท่าๆกัน จะพูดถึงกฎ 3 ส่วนก่อนนะ ให้เพื่อนใช้จินตนาการนะครับ แต่ในกล้องซิงเกิลเลนส์ จะเปลี่ยน สกรีนที่หัวกระโหลกได้จะเห็นเส้นพวกนี้อยู่ ก็จะสะดวกสบาย

ประโยชน์ของกฎ 3 ส่วน ก็คือเพื่อนๆสังเกตุภาพถ่ายสวยๆ นั้น เขาไม่วางแบบ (ซับเจค) อยู่ตรงกลางภาพกันเลยจะวางริมๆภาพกัน และการถ่ายภาพวิวนั้น จะไม่วางเส้นขอบฟ้าไว้กลางภาพ ให้แบ่งเป็นฟ้า 2 ส่วน หรือ 1 ส่วน เอาเป็นเป็นว่าจะเสนอฟ้าก็ให้ ฟ้าเยอะๆ จะเสนอพื้นดินพื้นน้ำก็ให้เยอะกว่าฟ้า อุ้ยงง




จากภาพบนให้เพื่อนๆสังเกตุดูว่าผมวางจุดเด่นไว้ริม และภาพที่ 2 ซับเจ็คก็อยู่ริม การที่วางอยู่ริมนั้นอธิบายในทาง ศิลปก็คือการไม่หยุดนิ่งต่อเนื่อง อืมอารมณ์ศิลปนะพี่น้อง
เพราะฉะนั้นให้เพื่อนๆ ฝึกแบ่งและใช้สมาธิก่อนกดชัตเตอร์ ในหลักการใช้กฎ 3 ส่วนนี้ให้ชำนาญแล้วมันจะเป็นไปเอง โดยอัตโนมัติเลยครับ

เรามาเริ่มเรื่องจุดตัด 9 ช่องต่อนะครับ เพื่อนๆ จะสังเกตุเจ้าวงสีแดง 4 จุดนั่นไหม เมื่อเราแบ่งภาพ
3 ส่วนเท่าๆ กัน ก็จะเกิดจุดตัดนี้ขึ้นมา การวางซับเจคของภาพ ควรจะวางให้อยู่ในบริเวณจุดตัดนี้เสมอเพื่อนๆ จะสังเกตุเห็นว่า ภาพที่ผมโพสก์มาตั้งแต่ 2, 3, 4, หรือภาพคุณบอยซับเจคจะอยู่
ในบริเวณจุดตัดนี้เสมอ เพราะฉะนั้นเวลาจะกดชัตเตอร์ ให้มองให้รอบคอบในช่องมองภาพไม่ต้องรีบร้อนใหม่ๆอาจไม่ชิน นานๆเข้าก็จะเป็นไปเองครับ สำหรับทฤษฎีทั้ง 2 นี้ให้เพื่อนนำไปเป็น
พื้นฐานสำคัญในการถ่ายภาพ จะทำให้ภาพถ่ายท่านออกมาดีแน่ๆ ยังมีเรื่องอีกหลายเรื่องในภาพถ่าย ไม่ว่าจะเป็นเส้นนำสายตา แสงอีกหลายแบบประกอบกันไป ค่อยๆเรียนรู้ไปคิดว่าสนุกสนาน บันทึกความทรงจำที่ดี



่่้้้้้้้้ตัวอย่างวิวและ ต้นไม้แบบจุดตัด 9จุด




การถ่าย portrait สาวๆ สวยๆ แนะนำ วางดวงตาสวยๆไว้ที่จุดตัดครับภาพ จะถูกดึงดูดได้เป็นอย่างดีครับ

การวางภาพ ไม่จำเป็นว่าจะต้อง วางให้ตรงจุด เป๊ะ เสมอไปนะครับ แต่เป็นการกะประมาณครับ
การวางอีกอย่างก็คือ เราสมารถวางไว้ตรงเส้นเลยก็ได้ครับ เช่น2ภาพนี้ครับ เส้นข้างขวาของท่านทั้งหมด ถูกผมเอานางแบบมาวางไว้ครับหรือเป็นภาพ เด็กน้องชาวหลวงพะบางก็เช่นกันครับ














เพราะเหตุใดรูปจึงเป็นเช่นนี้

เพราะเหตุใดรูปจึงเป็นเช่นนี้
หลายๆภาพที่พยายามดูและปรับผ่านมุมมองก่อนถ่ายเนื่องจากการเอียงของ ภาพ
แม้แต่จะระวังแล้วผลที่ออกมามันเบี้ยวบริเวณเสาและขอบภาพ
มันจะเอียงเข้าหาที่กลางภาพครับ
เมื่อเป็นเช่นนี้จึงอยากจะขอความเห็นจากผู้รู้ช่วยอธิบาย ว่าเกิดจากการซูม หรือ การถือกล้องไม่ได้ระนาบหรืออะไรที่เป็นสาเหตุให้ผู้น้อย ที่หัดถ่ายภาพหน่อยครับ ขอบคุณครับ

1.shift lens จะแก้ปัญหานี้ได้ครับ.... แต่แพง... ไม่มีของ.... ต้องสั่ง
เลนส์ วาย มีข้อจำกัดของมันครับ ว่าห้ามถ่ายอาคาร หรือรูปทรงเรขาคณิต ใกล้เกินไป จะทำให้ภาพ บวม distortion
มีท่อ รางสำหรับขยับเลนส์ เป็นกระบอกกระดาษ พับแบบหีบเพลง ซึ่งจะ ยกเลนส์ หรือ เบนฐานเลนส์ได้ นิดหน่อย เพื่อแก้ความคลาดนี้ ราคา เมื่อ 15 ปีที่แล้ว ตกอยู่ 8000 กว่า เดี๋ยวนี้ ไม่เห็นแล้ว(แต่เชื่อว่าน่าจะมีอยู๋ ที่เซ็นทรัล หรือ นิกส์)
และเดี๋ยวนี้ โฟโตชอฟ ทำได้เอาไว้ให้คุณ 2 ตา มาสอนนะ ผมก็จะรอเป็นเพื่อนคุณ
วิธีแก้ ก็คือ ถ่ายที่ 55 มม. แล้วมาพานอรามา เอา
2.เรื่องการแก้ Key stoning ครับ เลยลองทำมาให้ดู แบบคร่าวๆ นะครับ
1. เปิดรูป แล้ว กด Ctrl+A เพื่อเลือกทั้งหมด จากนั้น Ctrl+T เพื่อเรียก Free transform มาใช้งาน
2. จับจุดมาร์คกึ่งกลางภาพ ลากลงมาไว้ตรงจุดกึ่งกลางด้านล่างของภาพ (ตามลูกศรแดง)

3. กด Ctrl+R เพื่อเปิดไม้บรรทัด ให้ลากเส้นอ้างอิงแนวตั้งจากไม้บรรทัดด้านซ้ายมาวางเทียบเป็นหลักให้กับจุด ที่ต้องการแก้ Distortion (ตามลูกศรแดงอันบน)

4. กด Ctrl ค้างไว้ แล้วจับที่มุมขวาบน ลากออกไปจนกระทั่งได้ภาพตามต้องการ(ตามลูกศรแดงอันล่างในรูป) จากนั้นปล่อย Ctrl แล้วกด Enter ครับ
5. ทำเหมือนกันกับด้านซ้ายของภาพ
ดูผลลัพธ์สุดท้ายนะครับ

ปล. บางรูป ถ้าทำแล้วภาพมันดูบวมๆ อืดๆ ก็ลองใช้ Filter > Distort > Pinch ปรับค่าดูนะครับ

วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เรื่องแสง

Broad Light ภาษาไทยจะเรียกกันว่าการจัดแสงแนวกว้างคือ จัดให้แบบหันข้างให้กล้องเล็กน้อย วางไฟหลัก (Main Light) ทางด้านที่หันเข้าหากล้องแสงสว่างจะปรากฏบนใบหน้าประมาณ 3/4 หน้าผาก ดวงตาสองข้าง สันจมูก โหนกแก้ม คาง และใบหน้าด้านที่หันเข้าหากล้อง ส่วน อีก 1/4 เป็นเงามืดครับ การจัดแสงแบบนี้จะเห็นเงาจมูกชัด ทำให้รูสึกว่าจมูกโด่ง เหมาะกับคนที่มีใบหน้าแคบ

Short Light หรือ Narrow Light ภาษาไทยเรียก การ จัดแสงแบบแนวแคบ แบบนี้อาจต้องให้ผู้เป็นแบบหันข้างมากกว่าแบบแรก หรือที่เรียกว่าหันหน้าหนีกล้อง การวางไฟหลัก (Main Light) จะวางเฉียงไปทางด้านหลังเล็กน้อย เพื่อให้เกิดแสงสว่างบนใบหน้าเพียง 1/4 ส่วนที่เป็นเงามืด 3/4 ตรงกันข้ามกับแบบแรก การจัดแสงแบบนี้เหมาะกับผู้มีใบหน้ากว้าง

แถมอีกแบบที่ไม่ได้ถามครับ
Butterfly Light การจัดแสงให้เกิดเงารูปผีเสื้อใต้จมูก เป็นการวางไฟหลักในตำแหน่งตรงๆ ให้ลงใบหน้าผู้เป็นแบบ จะเห็นเงาใต้จมูกรูปผีเสื้อ เหมะกับคนใบหน้ารูปไข่ ส่วนใหญ่ถ่ายแบบปกนิตยสาร ถ่ายแฟชั่น ถ่ายโฆษณา ใช้แสงแบบนี้กันมาก

ส่วน Rembrandt Light นั้น เป็นการจัแสงถ่ายภาพคนตามแนวการเขียนภาพของ Rembrandt จิตรกรวาดภาพในสมัยเรนาสซองค์ ภาพของเค้าออกแนว Low Key คือมีน้ำหนักของภาพค่อนข้างเข้ม แต่ใบหน้าผู้เป็นแบบจะเด่นออกมา อาจต้องให้อัตราส่วนความแตกต่าง (Ratio) ของแสงมาก คือมีความแตกต่างระหว่างแสงสว่างกับเงามืดมาก การจัดแสงแบบนี้บางทีใช้เรียกกับการจัดแสงแบบ Broad Light ได้เหมือนกัน คือมาจากด้านบน ทำมุม 45 - 60 องศา

มีภาพแผนผังการวางไฟหลัก Main Light หรือ Key Light ในลักษณะต่างๆกัน
และตัวอย่างภาพเขียนของ Rembrandt ที่มีอิทธิพลต่อการจัดแสงของช่างภาพในยุคปัจจุบัน จนเอาชื่อของเค้ามาตั้งชื่อเรียกการจัดแสง ในแบบอย่างของ Rembrandt




ตัวอย่างงาน Broad Light ของกวางที่มาส่งงานผมครับ
ตัวอย่างงาน Broad Light ของกวางที่มาส่งงานผมครับ

การทำงานจัดไฟด้วยแสงประดิษฐ์หรือไฟสตูดิโอ ที่สำคัญคือการกำหนดทิศทางของแสงไฟหลักว่าจะให้เป็นแบบใด คือต้องเริ่มจากการจัดไฟหลักก่อน ส่วนใหญ่การถ่ายภาพคนจะเป็นการเลียนแบบแสงในธรรมชาติเป็นสไตล์เรียลลิสติ คคือเหมือนจริง เพราะฉะนั้นแสงควรจะมาจากด้านบนเฉียงขึ้นไปประมาณ 45องศา ไม่ว่าจะเป็นแนวกว้าง แคบ หรือบัตเตอร์ฟราย เพราะสภาพแสงจะเหมือนกับไฟห้อง ไฟเพดาน หรือดวงอาทิตย์ยามสาย ยามบ่าย.....
ถ้าวางไฟต่ำใกล้ๆระดับสายตา จะเหมือนกับแดดตอนเช้าหรือเย็นถ้าตั้งใจจะให้เป็นอารมณ์นั้นควรใส่เจลหน้าไฟ เพื่อเปลี่ยนสีของไฟ(ผมพูดให้เข้าใจง่ายนะครับ ความจริงคือเปลี่ยนอุณหภูมิของแสงครับ) แต่ที่เห็นงานถ่ายภาพในสตูบางคนวางไฟใกล้ระดับสายตาดูแล้วไม่เป็นธรรมชาติ หน้าแบนครับ

นั่นคือการวางไฟหลัก เมื่อได้ตำแหน่งที่พอใจแล้วก็จะเป็นการจัดไฟรองหรือไฟฟิล ถ้าพูดเป็นไทยๆคือไฟลบเงา
หน้าที่ของไฟฟิลคือเก็บรายละเอียดของเนื้อที่บนไปหน้าที่ไฟหลักส่องไปไม่ถึง หรือเงามืดนั่นเอง ไฟฟิลจะอยู่คนละด้านกับไฟหลักเช่น ไฟหลักอยู่ด้านซ้าย ไฟฟิลก็จะอยู่ด้านขวา เป็นต้น
ในการใชฟิลลบเงาหรือเพิ่มรายละเอียดในเงามืดเราใช้โฟมแทนก็ได้ครับ แต่โฟมจะควบคุมความสว่างมา สว่างน้อยได้ยากกว่าไฟ(จะไม่ได้ดั่ใจถ้าจัดแสงด้วยไฟแฟลช)

นอกจากที่ช่างภาพต้องให้ความสำคัญกับไฟหลัก และไฟรองแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดอีกอย่างหนึ่งคือ การกำหนดเรโชของแสงไฟทั้งสอง(อย่า เพิ่งมึนนะครับ)
เรโชของแสง Ratioแปลว่าอัตราส่วนความแตกต่างของวัตถุสองสิ่ง ถ้าเอามาใช้กับแสงคือการกำหนดความสว่างน้อย สว่างมากของไฟหลักและไฟฟิลนั่นเองครับ ซึ่งไฟหลักจะต้องมีค่าความสว่างของแสงมากว่าไฟฟิล วิธีที่จะทราบว่าความสว่างของไฟเท่าใดก็ต้องใช้เครื่องวัดแสง ส่วนใหญ่ที่ใช้จะเป็นมินอลต้า มิเตอร์โฟ และมิเตอร์ไฟว์ ซึ่งสามารถวัดแสงได้ทั้งเดย์ไลท์หรือแอมเบี้ยน และไฟแฟลช
ไฟสตูดิโอซึ่งเป็นไฟแฟลช เครื่องวัดแสงที่ติดมากับกล้องไม่สามารถอ่านค่าของแสงขณะที่แฟลชทำงานหรือ แว็บได้ดังนั้นต้องพึ่งเครื่องวัดแสงที่พูดถึงนั้นครับ
ขั้นแรกวัดแสงไฟหลัก สมมุติว่าได้ค่าที่ f 16 (ตั้งให้เครื่องวัดแสงอ่านเป็นค่าเอฟนัมเบอร์) ไฟรองจะต้องมีความสว่างน้อยกว่าไฟหลัก
"แล้วที่ถ่ายด้วยไฟสองด้านเท่าๆกันละครับ..?? เห็น portrait แบบแฟชั่นทำบ่อยๆ"
หมายความว่าเรโชของไฟเป็น 1 : 1 ครับ คือความสว่างเท่าๆกัน การจัดไฟลักษณะนี้เหมาะกับการถ่ายภาพแฟชั่น ถ่ายภาพวัยรุ่น ถ่ายโฆษณาประเภทครีมหน้าเด้งหรือเครื่องสำอางค์ ที่ต้องการให้รู้สึกถึงความใสบนใบหน้า ไม่ต้องการให้เกิดเงา ที่เรียกว่าไฮย์คีย์High Key คือภาพมีความแตกต่างของน้ำหนักในภาพไม่มากจะออกโทนน้ำหนักขาวหรือ อ่อนเกือบทั้งภาพครับ
สมมุติว่าเราจัดแสงไฟหลักแล้ววัดแสงได้ f 16 จากกนั้นวัดไฟฟิลถ้าได้ f 16 เท่ากันก็คือเรโชของแสงเท่ากับ 1:1 จะไม่มีเฉดหรือเงามืดบนใบหน้า
แต่ถ้าลดกำลังไฟของไฟฟิลให้น้อยลงสมมุติว่า 1 สต๊อป คืดวัดได้ f11 แสงไฟสองดวงจะต่างกัน 1 สต๊อป ค่าเรโชของแสงจะเท่ากับ 2:1 ถ้าต่างกัน 2 สต๊อปเรโชจะเท่ากับ 4:1 ถ้า 3 สต๊อปก็จะเท่ากับ 8:1 บางทีใช้ไฟหลักดวงเดียวค่าเรโชอาจจะเป็น 16:1, 32:1 หรือค่าของแสงต่างกัน 5 สต๊อปก็ยังมีครับ
ส่วนใหญ่ในงานถ่ายภาพเพื่อการพิมพ์ทั่วไปไม่ว่าจะเป็นคนหรือถ่ายสินค้าผมจะ ใช้เรโชที่ 3:1 ครับ คือความแตกต่างของไฟหลักและไฟรองจะอยู่ที่ประมาณ 1สต๊อปครึ่งถึง 1 เศษสองส่วนสามสต๊อปครับ

การวัดแสงผมใช้โดมวัดแสงรูปครึ่งวงกลม เอาไปไว้ในตำแหน่งที่ใกล้วัตถุมากที่สุด แล้วหันโดมไปทางตำแหน่งกล้องนะ ครับ ไม่ใช่หันไปทางตำแหน่งไฟ วัดทีละดวง วัดไฟหลักเสร็จก็มาวัดไฟรอง (ตำแหน่งเครื่องวัดแสงที่เดิมครับ) เมื่อได้ค่าเรโชตามต้องการแล้วก็เปิดไฟพร้อมกัน แล้วเปิดสเลฟให้มันแว๊ปพร้อมกันแล้ววัดอีกทีหนึ่ง จะได้ค่าน้ำหนักของแสงที่เราต้องการ เครื่องวัดแสงจะอ่านค่ารวมไฟสองดวง สมมุติได้ f 16.5 นั่นก็คือเราต้องใช้หน้ากล้องในการถ่ายshotนี้ที่ f 16.5

วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2552

White Balance กับการใช้งาน

White Balance กับการใช้งาน
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนนะครับ ว่า WB สำหรับกล้องดิจิตอลนั้นคือ filter แก้สีให้ถูกต้อง เท่านั้นเองครับ ซึ่งจะมีหลายแบบ ให้เลือกใช้กันครับ ... แต่จะแตกต่างกันไปในแต่ละยี่ห้อ .. ซึ่ง WB เหล่านี้จะทำหน้าที่แก้สีของภาพ ในบรรยากาศตอนเราถ่ายภาพ เราเห็นแอ๊บเปิ้ลสีแดง เพราะ แสงสะท้อนจากแอ๊บเปิ้ลนั้นวิ่งเข้าสู่ตาเราครับ ... วัตถุที่เราเห็นมีสีอะไร คือ วัตถุนั้นสะท้อนแสงนั้นเข้าตาเราครับ .. และในความหมายเดียวกันวัตถุนั้น ก้อดูดกลืนแสง(สี)ที่เรามองไม่เห็นจากวัตถุนั้นเช่นกันครับ เหมือนสีดำ จะไม่สะท้อนสีใด แต่จะดูดกลืนทุกช่วงสี (ผมขออธิบายง่ายๆว่าเป็นสี ไม่ขออ้างอิงเรืองความยาวคลื่นแสง หรือ การสะท้อนแสงนอกเหนือระดับ visible light) นะครับ โดยปกติแล้ว แสงอาทิตย์ที่เราเห็น พอผ่านปริซึมหรือเมื่อมีการหักเห ก้ออกมาเป็นเจ็ดสีนั่นเองครับ (ขอเรียกสี แล้วกันนะครับ แต่จริงๆแล้ว คือ ช่วงความยาวคลื่นที่ต่างกัน )... วงเวียนนี้(รูปด้านล่าง) ก้อแสดง สีของแสง ... หรืออุณหภูมิของแสง .... เราจะได้สีของแดด ต่างกันไปในเวลาที่แตกต่างกัน แสงของแดดในแต่ละวันจะไม่เหมือนกัน แล้วแต่เมฆ แล้วแต่สภาพพื้นที่ หลายอย่างครับ ...


แม่สีที่ยกมาเป็นตัวอย่างนั้น ขออธิบายสั้นๆว่า RGB หรือ red green blue นั้นเป็นแม่สีของแสงครับ ... รวมกันแล้วได้สีขาว .. เป็นแม่สีของระบบไฟฟ้า .... ดังนั้นค่าที่ถูกต้องของสีพวกนี้จึงต้องอ้างอิงจาก สีขาว ..หรือที่เราเรียกว่า white balance นั่นเองครับ ... เวลาถ่ายรูปกล้องจะมี WB มาให้เลือกใช้หลายค่า เพื่อจะทำให้ภาพที่ได้มีสีที่ถูกต้อง ตามสภาพแสงที่ผิดเพี้ยนไป ... เคยถ่ายกลางคืนแล้วหน้าออกมาเขียวๆหรือแดงส้มๆไหมครับ .. นั่นแหละฮะประเด็นใหญ๋ .... เช่นกรณีอยู่ในห้องที่มีหลอดไส้แบบเก่า เราเรียกว่าหลอดทังสเตน ... แสงของหลอดไฟทังสเตน เกิดจากความร้อนที่ไส้หลอด แสงที่ออกมา จะเป็นพลังงานที่เกิดจากการกระโดดข้ามชั้นของอิเล็กตรอน ในโมเลกุลของไส้หลอด -*- มันให้แสงที่มีสีที่เราเห็นนั่นแหละครับ ง่ายๆ แหะๆๆสีจะออกแนวส้มๆ ใช่มั้ยครับ คนที่ถูกถ่ายก้อจะส้มไปด้วย WB ในกล้องก้อเหมือนกับ filter แก้สีครับ ทำให้เหมือนใช้ filter ที่จะให้ค่าแสงถูกต้อง หน้าไม่ส้มจนเกินไปครับ โดย เราจะสามารถเลือก filter ได้ถูกต้องจากการ ทราบสภาพแสงครับ ... แต่ยกตัวอย่างจาก การใช้งานจะง่ายกว่า มาดู White balance ของกล้องคุณกันนะครับ (เอาส่วนใหญ่)อันเเรก ....... รูปพระอาทิตย์ ....... หมายถึง WB ทีเราควรจะเลือกใช้ในวันที่มีแดดดีๆครับ ..... แสงจะมีโทนอยู่ระหว่าง Cyan กับ Blue (ดูวงเวียนสีประกอบนะครับ) ... แดดดีๆเนี่ย UV ก้อมากถูกมั้ยครับ .... แสง UV จะให้สีฟ้าอมน้ำเงิน เพราะฉะนั้น... แสงที่ถูกต้องที่กล้องควรจะจับภาพคือ ต้องใส่ filter ที่มีสีตรงข้ามกัน ก้อเหมือนแก้ทางกันนะเองครับ ..... เพราะฉนั้นสีที่ตรงข้ามกันกับ UV คือสี ..............ดูวงเวียนครับ เมื่อเราใช้ รูปก้อจะไม่ติดโทนน้ำเงินมากนักครับ .... (ลองหาฟิลเตอร์ uv ของกล้องฟิล์มมาดูนะครับ จะเห็นว่า มีสีชมพูอ่อนๆ แล้วแต่ยี่ห้อด้วยนะครับ) มาถึง WB ที่เหลือ อันที่หน้าตาเป็นเมฆ ... เราเรียก cloudy ครับ ........ การที่เมฆมากก้อเหมือนกับไอน้ำในอากาศมากครับ .. ไอน้ำเหล่านี้จะทำหน้าที่สะท้อนแสงแดดได้อย่างดี เปรียบเสมือนพระอาทิตย์ดวงเล็กๆนั่นเองครับ .... ดังนั้น เท่ากับว่า เหมือนกับเรามีปริมาณ UV เพิ่มขึ้นมามากกว่าเดิม ถูกมั้ยครับ ... แสดงว่าสีที่เพิ่มขึ้นก้อต้อง ........ ติดน้ำเงินมากยิ่งขึ้น.......... ดังนั้น WB ที่จะเอามาแก้แบบนี้คือ cloudy ก้อจะต้องมีสี ..........ตรงข้าม blue ก้อคือ สีแดงครับ .... ถ้าตอนนี้มีกล้องในมือก้อเอามาเล่นได้เลยนะครับ ลองปรับไปที่ WB cloudy ดูนะครับ ... ถ้าสภาพแสงปกติ จะเห็นได้เลยว่ารูปจะออกมาสีแดงๆ ... นั่นเป็นเพราะเหมือนเราใส่ filter สีแดงเข้าไปนั่นเองครับ .... WB คือ การใส่ filter ให้กล้องเพื่อให้ได้ค่าสีที่ถูกต้อง ...... อันที่สามเป็นรูปหลอดไฟ ... หมายถึง หลอดไส้ เราเรียก wb แบบนี้ว่า ทังสเตนครับ ไฟที่ออกมาจากหลอด สีจะออกส้มๆ ถูกมั้ยครับ ...ดังนั้น filter ก้อจะอยู่..............ตรงข้าม คือสี ............... ดูจากวงเวียนนะครับ ..... เพราะฉนั้นเวลาเราไปอยู่ในสภาพแสงที่แตกต่างกันเราก้อจะสามารถเลือก wb ให้ถูกต้องทำให้เราได้สีที่ถูกต้องครับ .... อันสุดท้าย ..... หลอดยาว .... คือ หลอดฟลูออเรสเซนต์นั่นเองครับผม .... ที่ใช้กันตามบ้านนั่นแหละครับ หลอดฟลู นี้ เกิดจากหลักการง่ายๆคือการทำให้ก๊าซคลอรีนเรืองแสง ... สีของคลอรีน โดยทางเคมีแล้วคือสีเขียวนะครับ ... ดังนั้นแสงที่ออกมาจะออกเขียวแต่ตาคนเราอาจะเเยกไม่ออกครับ ... ถ้าแสงอมเขียวดังนั้น filter คือ สี .............

วันพุธที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เลนส์ APOCHROMATIC CORRECTION

นอกจากชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมที่นำมาใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว ยังมีการใช้ชิ้นเลนส์แก้ความคลาดสีเข้ามาผลิตเลนส์กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น ซึ่งปกติ ชิ้นเลนส์แก้ความคลาดสีจะมีการนำมาใช้กับเลนส์เทเลโฟโต้ช่วงยาวตั้งแต่ 200 มม.ขึ้นไปและมีขนาดช่องรับแสงกว้าง มักเป็นเลนส์ราคาแพงเกือบแสนบาทถึงแพงมากหลายแสนบาท รวมไปถึงเลนส์มาโครพิเศษที่มีอัตราขยายภาพสูงมาก หรือเลนส์สำหรับกล้องจุลทรรศน์ แต่ปัจจุบัน ชิ้นเลนส์แก้ความคลาดสียังมีการนำมาใช้กับเลนส์ซูม เลนส์มุมกว้าง เลนส์มาโคร ที่สำคัญ ราคาไม่แพงเท่าใดนัก เราลองมารู้จักเลนส์ Apochromatic กันว่าเป็นอย่างไร ทำไมถึงมีราคาสูง และดีกว่าเลนส์ธรรมดาอย่างไรเมื่อให้แสงสีขาววิ่งผ่านเลนส์ที่มีผิวหน้าเป็นทรงกลม แสงสีขาวจะแยกออกเป็นหลาย ๆ สี ภาพบนตำแหน่งปรับความชัดจึงมีการแยกออกเป็นสีต่าง ๆ เหลื่อมกัน ไม่ได้เป็นสีขาวคมชัดตามต้นฉบับ สังเกตได้ที่บริเวณของวัตถุ หรือรอบต่อระหว่างส่วนมืดและสว่างจะเกิดสีเหลื่อมที่ขอบ เราเรียกความคลาดที่เกิดขึ้นนี้ว่า ความคลาดสี หรือ Chromatic Aberationซึ่งสาเหตุที่เกิดความคลาดสีนี้เนื่องมาจาก การหักเหของแสงจะขึ้นกับความยาวคลื่นแสง แก้วชิ้นเดียวจะหักเหแสงไม่เท่ากับในแต่ละสี ทำให้แสงแต่ละสีไม่ไปตกที่ตำแหน่งเดียวกัน แสงสีน้ำเงินซึ่งมีความยาวคลื่นสั้นจะมาตกด้านหน้า ส่วนแสงสีแดงที่มีความยาวคลื่นมากกว่าจะไปตกด้านหลัง การเกิดความคลาดสีจะแตกต่างกันที่บริเวณขอบภาพและกลางภาพ บริเวณกลางภาพ เราเรียกว่า Axial หรือ Longitudinal chromatic aberation แสงแต่ละสีจะอยู่บนแกนเดียวกัน แต่โฟกัสตกไม่เท่ากัน จะเกิดการเหลื่อมของสีโดยมีจุดศูนย์กลางร่วมกัน ส่วนที่ขอบภาพ เราเรียกว่า Transverse หรือ Lateral chromatic aberation แสงจะไปตกคนละแกน ทำให้ภาพแต่ละสีซ้อนกันในลักษณะบนล่าง






เมื่อให้แสงสีขาววิ่งผ่านเลนส์ที่มีผิวหน้าเป็นทรงกลม แสงสีขาวจะแยกออกเป็นหลาย ๆ สี ภาพบนตำแหน่งปรับความชัดจึงมีการแยกออกเป็นสีต่าง ๆ เหลื่อมกัน ไม่ได้เป็นสีขาวคมชัดตามต้นฉบับ สังเกตได้ที่บริเวณของวัตถุ หรือรอบต่อระหว่างส่วนมืดและสว่างจะเกิดสีเหลื่อมที่ขอบ เราเรียกความคลาดที่เกิดขึ้นนี้ว่า ความคลาดสี หรือ Chromatic Aberationซึ่งสาเหตุที่เกิดความคลาดสีนี้เนื่องมาจาก การหักเหของแสงจะขึ้นกับความยาวคลื่นแสง แก้วชิ้นเดียวจะหักเหแสงไม่เท่ากับในแต่ละสี ทำให้แสงแต่ละสีไม่ไปตกที่ตำแหน่งเดียวกัน แสงสีน้ำเงินซึ่งมีความยาวคลื่นสั้นจะมาตกด้านหน้า ส่วนแสงสีแดงที่มีความยาวคลื่นมากกว่าจะไปตกด้านหลัง การเกิดความคลาดสีจะแตกต่างกันที่บริเวณขอบภาพและกลางภาพ บริเวณกลางภาพ เราเรียกว่า Axial หรือ Longitudinal chromatic aberation แสงแต่ละสีจะอยู่บนแกนเดียวกัน แต่โฟกัสตกไม่เท่ากัน จะเกิดการเหลื่อมของสีโดยมีจุดศูนย์กลางร่วมกัน ส่วนที่ขอบภาพ เราเรียกว่า Transverse หรือ Lateral chromatic aberation แสงจะไปตกคนละแกน ทำให้ภาพแต่ละสีซ้อนกันในลักษณะบนล่าง


ความคลาดสีจะทำให้ภาพเกิดการเหลื่อมของสี ภาพขาดความคมชัด ไม่สามารถแยกรายละเอียดที่เล็กมาก ๆ ได้ ความคลาดสีจะมาหรือน้อยขึ้นกับ1.ขนาดของช่องรับแสง ช่องรับแสงกว้างจะมีความคลาดสีสูงกว่าช่องรับแสงแคบ2. มุมการรับภาพ เลนส์มุมกว้างจะมีความคลาดสีที่กลางภาพสูงกว่าเลนส์เทเลโฟโต้ แต่เลนส์เทลโฟโต้จะมีความคลาดสีที่ของภาพมากกว่าเลนส์มุมกว้าง



การแก้ไขความคลาดสีสามารถกระทำได้โดย1.ใช้ชิ้นเลนส์ Fluoride จะแก้ไขความคลาดทรงกลมที่กลางและขอบภาพได้2.ออกแบบโดยใช้โครงสร้าง Apochromatic Design จะสามารถแก้ไขความคลาดสีที่กลางภาพได้3.ใช้โครงสร้างเลนส์แบบ Symmetrical Design จะสามารถแก้ความคลาดสีที่ขอบภาพได้4.ลดขนาดช่องรับแสงลง จะสามารถลดขนาดของ Circle of confusion ให้เล็กลงได้ สามารถลดความคลาดสีส่วนกลางภาพได้ แต่ไม่สามารถลดความคลาดสีที่ขอบภาพได้ความคลาดสีของเลนส์จะสังเกตุได้ชัดกับเลนส์เทเลโฟโต้ตั้งแต่ 300มม. ที่เป็นเลนส์ธรรมดา ไม่ใช้เลนส์ Apochromatic correction โดยถ่ายภาพให้ฉากหลังมืด วัตถุสว่าง หรือวัตถุกับฉากหลังมีความแตกต่างของแสงและสีสูง ๆ จะเห็นว่าขอบของวัตถุมีสีคล้าย ๆ รุ้งเกิดขึ้น หรือเลนส์มุมกว้างมาก ๆ บริเวณของภาพจะเห็นความคลาดสีได้เช่นกันการแก้ไขความคลาดสีจำเป็นที่จะต้องใช้ชิ้นเลนส์ที่มีดัชนีหักเหสูงแต่มีการกระจายแสงต่ำ โดยใช้ชิ้นแก้วพิเศษจำนวน 3 ชิ้น สมัยก่อนจะใช้ชิ้นแก้วที่มีส่วนผสมของ Fluoride ในปริมาณมาก แต่ปัญหาคือ แก้วที่ทำจากฟลูออไรด์จะมีความเปราะบางมาก ไม่เสถียร และสามารถเปลี่ยนแปลงขนาดได้ ทำให้ไม่ทนทาน ทางยาวโฟกัสเปลี่ยนเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยน ต่อมามีการผลิตแก้วสังเคราะห์ขึ้นมาเพื่อทดแทนแก้วฟลูออไรด์และมีคุณภาพใกล้เคียง แต่สามารถผลิตได้ง่ายและใช้งานได้สะดวกมากขึ้น เช่น เช่นเลนส์ ED , UD , LD ฯลฯ แต่โดยรวมแล้วก็ยังต้องมีชิ้นเลนส์ฟลูออไรด์เข้ามาร่วมด้วยอยู่ดีเพื่อแก้ความคลาดสีบริเวณขอบภาพ เลนส์ที่เป็น Apochromatic correction จึงมักจะเป็นเลนส์ที่มีราคาแพงมาก ๆ เป็นหลัก

แต่ในปัจจุบัน มีการใช้ชิ้นเลนส์พิเศษกันอย่างแพร่พลายนอกเหนือไปจากเลนส์ซุปเปอร์เทเลโฟโต้ราคาแพง เช่นในเลนส์ซูมราคาปานกลาง เลนส์มุมกว้าง และมีการโฆษณากันอย่างครึกโครม ทำให้ผู้ใช้จำนวนมากเกิดความกังขาว่า เลนส์ราคาถูกเหล่านั้น เป็นเลนส์ APO จริงหรือไม่เช่นเดียวกับเลนส์แก้ความคลาดทรงกลม การจะกล่าวว่าเลนส์ตัวไหนเป็นเลนส์ไร้ความคลาดสีหรือไม่ ไม่สามารถดูที่การใช้ชิ้นเลนส์แก้ความคลาดสี หรือดูจากราคา และถ้าถามผู้เขียน ก็คงไม่สามารถตอบได้ว่า เลนส์ APO ตัวละไม่กี่พันบาทนั้น เป็นเลนส์ APO จริงหรือไม่ เพราะไม่มีเครื่องวัดความคลาดสีมาทดสอบ และคงจะไม่ยุติธรรมหากจะกล่าวว่า ผู้ผลิตเลนส์รายนั้น ๆ โกหกการใช้ชิ้นเลนส์แก้ความคลาดสี อาจจะใช้เพื่อลดต้นทุนการผลิต เพื่อให้สามารถใช้ชิ้นเลนส์จำนวนลดลงและเลนส์มีขนาดเล็กลง ไม่ต้องใช้ชิ้นเลนส์จำนวนมากในการแก้ความคลาดสี ออกแบบเลนส์ได้ง่ายขึ้น ความคลาดสีลดลง แต่จะถึงขั้นเป็น Apochromatic correction หรือไม่ ผมคงไม่ทราบ อย่างไรก็ตาม การมีชิ้นเลนส์แก้ความคลาดสีย่อมดีกว่าไม่มี แต่มีแล้วจะดีจริงหรือเปล่า ข้อนี้ตอบไม่ได้ (และคงไม่มีผู้ผลิตรายไหนบอกข้อมูลมาว่า เลนส์ของตัวแต่ละรุ่นมีความคลาดสีบริเวณกลางภาพเป็นระยะกี่ไมครอน ขอบภาพกี่ไมครอน รวมไปถึงผู้ทดสอบเลนส์ก็ไม่เห็นว่าจะมีใครที่มีเครื่องมือขนาดนี้ ผู้บริโภคเลยไม่รู้ข้อมูลจริง ๆ สักที)หากผู้ซื้อสงสัยในความเป็น APO ของเลนส์ ลองดูที่แคทตาล็อกของเลนส์ดูซิครับว่า เขาจะเขียนว่า มีการใช้ชิ้นเลนส์แก้ความคลาดสี ชิ้นเลนส์นี้ทำหน้าที่อย่างไร หรือบางครั้งก็บอกว่า ใช้โครงสร้างของ APOCHROMATIC DESIGN แต่มีจำนวนไม่มากครับที่ระบุว่า เลนส์ตัวนั้นของเขาเป็น APOCHROMATIC CORRECTION ของใครเป็นอะไร ไปดูกันเอาเองนะครับ

ขณะนี้แคนนอนกำลังพัฒนาเลนส์แก้ความคลาดสีและความคลาดทรงกลม โดยใช้ระบบ Multi-Layer Diffraction Optical Element โดยการใช้ชิ้นเลนส์แก้วประกบกับ diffraction layer ซึ่งมีลักษณะคล้าย ๆ กับผิวหน้าของ focusing screen 2 ด้านประกบกัน สามารถกลับความคลาดสี ให้แสงที่ปกติจะแยกเป็น น้ำเงิน เขียว แดง ให้เป็น แดง น้ำเงิน เขียว เมื่อแสงวิ่งผ่านชิ้นเลนส์อื่น ๆ ซึ่งยังคงมีความคลาดสีในลักษณะ น้ำเงิน เขียว แดง แสงทั้งสามสีก็จะกลับมารวมกันเป็นขาว