วันพุธที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ชิ้นเลนส์ Aspherical คืออะไร จำเป็นหรือไม่

ชิ้นเลนส์ Aspherical คืออะไร จำเป็นหรือไม่ ++++
ปัจจุบันนี้ บริษัทผู้ผลิตเลนส์มีการนำชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลม(Aspherical)มาใชักับเลนส์หลายตัว เช่น เลนส์ Canon 17-35L , Nikon 18-35MM. Tamron SP 28-105MM. ฯลฯ มีตั้งแต่เลนส์ที่ใช้กับกล้องคอมแพคราคาไม่ถึงหมื่นบาท ไปจนกระทั่งเลนส์ราคาแพงเกือบแสนบาท และมีการโฆษณาว่า เลนส์พิเศษเหล่านั้นจะมีคุณภาพดีกว่าเลนส์ธรรมดามาก ให้ภาพคมชัดมากเป็นพิเศษ เลนส์แก้ความคลาดทรงกลมถูกคิดค้นขึ้นมาเป็นเวลานานแล้ว แต่กรรมวิธีการผลิตชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมคุณภาพสูงในยุคก่อนจะทำให้มีต้นทุนสูงมาก เลนส์ที่ใช้ชิ้นเลนส์แบบนี้จึงมีราคาสูง มักเป็นเลนส์มุมกว้างหรือเลนส์ที่มีช่องรับแสงกว้างมากเป็นพิเศษ ซึ่งไม่ได้จำเป็นสำหรับการใช้งานของบุคคลทั่วไปความจริง ชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมถูกนำมาใช้เป็นเวลานานมากแล้ว โดยเฉพาะกับช่องมองภาพของกล้องถ่ายภาพ ,กล้องส่องทางไกล , Projector ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ต้องการภาพที่คมชัดทั้งระนาบโดยไม่สามารถใช้ช่องรับแสงเข้ามาช่วยเหมือนเลนส์กล้องถ่ายภาพได้ แต่ไม่ได้ต้องการความแม่นยำสูงมาก ๆ เหมือนชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมที่ใช้กับเลนส์กล้องถ่ายภาพ เพราะตามีความสามารถในการแยกรายละเอียดต่ำกว่าฟิล์มมาก ๆหลายท่านคงสงสัยว่า เจ้าเลนส์ Aspherical คืออะไร จำเป็นหรือไม่ที่ต้องความคลาดทรงกลมคืออะไร
ชิ้นเลนส์ของกล้องถ่ายภาพจะมีผิวหน้าที่เป็นทรงกลมโค้งอย่างน้อย 1 ด้าน เพื่อให้เลนส์สามารถรวมแสงเกิดภาพบนฉากรับภาพขึ้นได้ แต่ความโค้งนี้เองได้สร้างปัญหาหลายอย่างให้กับภาพที่ได้ เช่น เกิดความผิดเพี้ยนของรูปทรง เกิดการเหลื่อมของสี ฯลฯ ซึ่งเราเรียกความผิดปกติของภาพที่เกิดขึ้นนี้ว่า Aberation หรือความคลาดความคลาดทรงกลมหรือ Spherical Aberation เป็นสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นจากความโค้งของผิวหน้าเลนส์ที่เป็นทรงกลม เนื่องจากแสงสะท้อนจากวัตถุที่ผ่านด้านขอบเลนส์จะไปตกใกล้กว่าแสงที่ผ่านกลางเลนส์ ทำให้ภาพของวัตถุบนฟิล์มมีทั้งภาพที่ชัดและไม่ชัดซ้อนกันอยู่ ผลก็คือ ภาพจะขาดความคมชัด จะเห็นได้ชัดเจนกับรายละเอียดที่มีขนาดเล็ก ๆ และเลนส์จะไม่สามารถแยกรายละเอียดที่มีขนาดเล็ก ๆ ได้

ความคลาดทรงกลมจะมากหรือน้อย นอกจากการออกแบบเลนส์แล้ว ธรรมชาติของเลนส์จะมีความคลาดทรงกลมสูงเมื่อ1.ขนาดช่องรับแสงกว้าง ยิ่งช่องรับแสงกว้ามากเท่าไร จะต้องใช้ชิ้นเลนส์ด้านหน้าที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ความคลาดทรงกลมจะมากขึ้นด้วย2.มุมการรับภาพ ยิ่งมุมการรับภาพกว้างมากขึ้นเท่าไร ความคลาดทรงกลมก็จะมากตามไปด้วย3.ระยะโฟกัส ยิ่งโฟกัสใกล้มากขึ้น ความคลาดทรงกลมของเลนส์ก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เลนส์ตัวเดียวกัน ถ่ายภาพที่ระยะไม่เท่ากัน ความคลาดทรงกลมจะไม่เท่ากัน4.ระยะห่างจากจุดศูนย์กลางภาพ ยิ่งออกห่างจากจุดศูนย์กลางภาพมากเท่าไร ความคลาดทรงกลมจะเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น



การแก้ไขความคลาดทรงกลมมีด้วยกันหลายวิธี เช่น1.ใช้ชิ้นแก้วทรงกลมแบบ Negative และ Positive2.ใช้ชิ้นเลนส์แบบไม่เป็นทรงกลม หรือ ชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลม(Asphreric Surface)3.ใช้ชิ้นเลนส์ลอยตัว(Floating Element)4.ลดขนาดช่องรับแสงลง เพื่อให้ใช้พื้นที่ของชิ้นเลนส์ลดลงและลดขนาดของ Circle of confusion ให้เล็กลงชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลม จะมีลักษณะโค้งไม่เท่ากันทั้งผิวหน้า ดังตัวอย่าง สามารถหักเหแสงที่ขอบเลนส์ให้มาตกจุดเดียวกับแสงที่มาจากกึ่งกลางเลนส์ได้ ชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมจะมีอยู่ 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ1.แบบ Ground ใช้วิธีการฝนเลนส์ให้ได้ผิวหน้าเลนส์ให้เป็นแบบ Aspheric ซึ่งต้องอาศัยกรรมวิธีพิเศษในการขัด2.แบบ Mold เป็นวิธีการหล่อชิ้นเลนส์จากแม่พิพม์ที่เป็นแบบ Aspheric ซึ่งวัสดุที่ใช้มีทั้งแบบพลาสติกและแก้ว3.แบบ Hybrid โดยการใช้ Resin ประกบเข้ากับผิวหน้าของเลนส์ปกติ ให้ได้ผิวหน้าแบบ Aspheric ผู้ผลิตเลนส์แต่ละรายจะใช้วิธีการแก้ไขความคลาดทรงกลมที่แตกต่างกันออกไปตามราคาขายของเลนส์ ส่วนใหญ่จะมีใช้ทั้ง 3 แบบ แต่ละแบบมีความสามารถแก้ความคลาดทรงกลมได้ผลดีแตกต่างกันไป ด้วย แบบ Hybrid จะมีต้นทุนต่ำที่สุด ผลิตได้เร็ว ปัญหาการผลิตน้อย แต่แก้ความคลาดทรงกลมได้แม่นยำน้อยกว่าแบบอื่น ๆ (ขึ้นกับการออกแบบและคุณภาพในการผลิตด้วย คงไม่สามารถเหมารวมได้ทั้งหมด) มักใช้กับเลนส์ซูมมุมกว้าง ซึ่งปัญหาที่เจอะเจอกับเลนส์ประเภทนี้คือ ความทนทาน มักขึ้นฝ้าง่ายมาก (แต่กับ Minolta 28-80mm.F2.8 G ยังไม่เจอปัญหานี้ ทั้ง ๆ ที่เป็นแบบ Hybrid เช่นกัน ดังนั้นคงไม่สามารถสรุปได้ว่าทุกตัวต้องเป็น) ภาพมีแฟลร์ง่าย และความเปรียบต่างไม่สูงเท่าไรนักแบบ Mold จะมีต้นทุนในการทำแม่พิมพ์สูง สามารถผลิตเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมได้จำนวนมาก รวดเร็ว คุณภาพดี และไม่มีปัญหาในเรื่องความทนทาน(ถ้าทำจากแก้ว) นำมาใช้กับเลนส์กล้องคอมแพคและกล้อง SLR กันอย่างแพร่หลาย เพราะต้นทุนเมื่อผลิตจำนวนมากต่ำ และได้เลนส์คุณภาพดีแบบ Ground จะมีคุณภาพดีกว่าแบบอื่น ๆ (ถ้าผลิตและออกแบบดี) แต่ต้นทุนสูงมาก จึงใช้กับเลนส์ที่สามารถขายได้ในราคาแพงมากเท่านั้น มีความทนทานสูงขนาดของชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมและตำแหน่งที่วางจะมีผลต่อคุณภาพของเลนส์ที่ได้ด้วย ชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมขนาดใหญ่ วางไว้ด้านหน้าเลนส์จะได้คุณภาพที่ดีกว่าชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมขนาดเล็กหรืออยู่ด้านหลัง ในทางทฤษฎี เลนส์ที่มีชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมจะให้คุณภาพที่ดีกว่าเลนส์ที่ไม่มี แต่ไม่จำเป็นเสมอไปในทางปฎิบัติ ผู้ผลิตเลนส์ปัจจุบันนำชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมมาใช้เพื่อจุดประสงค์หลายประการ เช่น เพื่อให้ออกแบบเลนส์ได้ง่ายขึ้น เพื่อลดจำนวนชิ้นเลนส์ลงทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำ เพื่อสามารถสร้างเลนส์ซูมมุมกว้างมาก ๆ ได้ มีเลนส์จำนวนไม่มากนักที่ใช้ชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมเพื่อจุดมุ่งหมายในการเพิ่มคุณภาพของเลนส์ให้ถึงขีดสุด แต่ปัญหาที่ตามมาของการใช้ชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมก็มีด้วยเช่นกัน เช่น การที่ไม่สามารถเคลือบผิวหน้าชิ้นเลนส์ด้านที่เป็น Layer ได้ ทำให้มีแฟลร์สูงและเกิดแฟลร์ง่ายแม้จะมีชิ้นเลนส์จำนวนไม่มากก็ตาม อายุการใช้งานไม่ยาวนัก สีสันของภาพไม่สดใส ในขณะที่มีวิธีการแก้ความคลาดทรงกลมที่ได้ผลดีอยู่อีกหลายอย่างด้วยกัน เช่น การเลือกชนิดของแก้ว หรือการใช้ชิ้นเลนส์ลอยตัว ซึ่งมีความสามารถในการแก้ความคลาดทรงกลมไม่แพ้การใช้ชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมเท่าไรนักดังนั้น หากคุณจะซื้อเลนส์ ไม่ได้หมายความว่า มีชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมแล้วจะต้องดีกว่าเลนส์ที่ไม่มีเสมอไป ขึ้นกับการออกแบบที่ลงตัว และการผลิตมากกว่า ฉะนั้นจึงต้องดูเป็นรุ่น ๆไปด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น