Broad Light ภาษาไทยจะเรียกกันว่าการจัดแสงแนวกว้างคือ จัดให้แบบหันข้างให้กล้องเล็กน้อย วางไฟหลัก (Main Light) ทางด้านที่หันเข้าหากล้องแสงสว่างจะปรากฏบนใบหน้าประมาณ 3/4 หน้าผาก ดวงตาสองข้าง สันจมูก โหนกแก้ม คาง และใบหน้าด้านที่หันเข้าหากล้อง ส่วน อีก 1/4 เป็นเงามืดครับ การจัดแสงแบบนี้จะเห็นเงาจมูกชัด ทำให้รูสึกว่าจมูกโด่ง เหมาะกับคนที่มีใบหน้าแคบ
Short Light หรือ Narrow Light ภาษาไทยเรียก การ จัดแสงแบบแนวแคบ แบบนี้อาจต้องให้ผู้เป็นแบบหันข้างมากกว่าแบบแรก หรือที่เรียกว่าหันหน้าหนีกล้อง การวางไฟหลัก (Main Light) จะวางเฉียงไปทางด้านหลังเล็กน้อย เพื่อให้เกิดแสงสว่างบนใบหน้าเพียง 1/4 ส่วนที่เป็นเงามืด 3/4 ตรงกันข้ามกับแบบแรก การจัดแสงแบบนี้เหมาะกับผู้มีใบหน้ากว้าง
แถมอีกแบบที่ไม่ได้ถามครับ
Butterfly Light การจัดแสงให้เกิดเงารูปผีเสื้อใต้จมูก เป็นการวางไฟหลักในตำแหน่งตรงๆ ให้ลงใบหน้าผู้เป็นแบบ จะเห็นเงาใต้จมูกรูปผีเสื้อ เหมะกับคนใบหน้ารูปไข่ ส่วนใหญ่ถ่ายแบบปกนิตยสาร ถ่ายแฟชั่น ถ่ายโฆษณา ใช้แสงแบบนี้กันมาก
ส่วน Rembrandt Light นั้น เป็นการจัแสงถ่ายภาพคนตามแนวการเขียนภาพของ Rembrandt จิตรกรวาดภาพในสมัยเรนาสซองค์ ภาพของเค้าออกแนว Low Key คือมีน้ำหนักของภาพค่อนข้างเข้ม แต่ใบหน้าผู้เป็นแบบจะเด่นออกมา อาจต้องให้อัตราส่วนความแตกต่าง (Ratio) ของแสงมาก คือมีความแตกต่างระหว่างแสงสว่างกับเงามืดมาก การจัดแสงแบบนี้บางทีใช้เรียกกับการจัดแสงแบบ Broad Light ได้เหมือนกัน คือมาจากด้านบน ทำมุม 45 - 60 องศา
มีภาพแผนผังการวางไฟหลัก Main Light หรือ Key Light ในลักษณะต่างๆกัน
และตัวอย่างภาพเขียนของ Rembrandt ที่มีอิทธิพลต่อการจัดแสงของช่างภาพในยุคปัจจุบัน จนเอาชื่อของเค้ามาตั้งชื่อเรียกการจัดแสง ในแบบอย่างของ Rembrandt
ตัวอย่างงาน Broad Light ของกวางที่มาส่งงานผมครับ
ตัวอย่างงาน Broad Light ของกวางที่มาส่งงานผมครับ
การทำงานจัดไฟด้วยแสงประดิษฐ์หรือไฟสตูดิโอ ที่สำคัญคือการกำหนดทิศทางของแสงไฟหลักว่าจะให้เป็นแบบใด คือต้องเริ่มจากการจัดไฟหลักก่อน ส่วนใหญ่การถ่ายภาพคนจะเป็นการเลียนแบบแสงในธรรมชาติเป็นสไตล์เรียลลิสติ คคือเหมือนจริง เพราะฉะนั้นแสงควรจะมาจากด้านบนเฉียงขึ้นไปประมาณ 45องศา ไม่ว่าจะเป็นแนวกว้าง แคบ หรือบัตเตอร์ฟราย เพราะสภาพแสงจะเหมือนกับไฟห้อง ไฟเพดาน หรือดวงอาทิตย์ยามสาย ยามบ่าย.....
ถ้าวางไฟต่ำใกล้ๆระดับสายตา จะเหมือนกับแดดตอนเช้าหรือเย็นถ้าตั้งใจจะให้เป็นอารมณ์นั้นควรใส่เจลหน้าไฟ เพื่อเปลี่ยนสีของไฟ(ผมพูดให้เข้าใจง่ายนะครับ ความจริงคือเปลี่ยนอุณหภูมิของแสงครับ) แต่ที่เห็นงานถ่ายภาพในสตูบางคนวางไฟใกล้ระดับสายตาดูแล้วไม่เป็นธรรมชาติ หน้าแบนครับ
นั่นคือการวางไฟหลัก เมื่อได้ตำแหน่งที่พอใจแล้วก็จะเป็นการจัดไฟรองหรือไฟฟิล ถ้าพูดเป็นไทยๆคือไฟลบเงา
หน้าที่ของไฟฟิลคือเก็บรายละเอียดของเนื้อที่บนไปหน้าที่ไฟหลักส่องไปไม่ถึง หรือเงามืดนั่นเอง ไฟฟิลจะอยู่คนละด้านกับไฟหลักเช่น ไฟหลักอยู่ด้านซ้าย ไฟฟิลก็จะอยู่ด้านขวา เป็นต้น
ในการใชฟิลลบเงาหรือเพิ่มรายละเอียดในเงามืดเราใช้โฟมแทนก็ได้ครับ แต่โฟมจะควบคุมความสว่างมา สว่างน้อยได้ยากกว่าไฟ(จะไม่ได้ดั่ใจถ้าจัดแสงด้วยไฟแฟลช)
นอกจากที่ช่างภาพต้องให้ความสำคัญกับไฟหลัก และไฟรองแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดอีกอย่างหนึ่งคือ การกำหนดเรโชของแสงไฟทั้งสอง(อย่า เพิ่งมึนนะครับ)
เรโชของแสง Ratioแปลว่าอัตราส่วนความแตกต่างของวัตถุสองสิ่ง ถ้าเอามาใช้กับแสงคือการกำหนดความสว่างน้อย สว่างมากของไฟหลักและไฟฟิลนั่นเองครับ ซึ่งไฟหลักจะต้องมีค่าความสว่างของแสงมากว่าไฟฟิล วิธีที่จะทราบว่าความสว่างของไฟเท่าใดก็ต้องใช้เครื่องวัดแสง ส่วนใหญ่ที่ใช้จะเป็นมินอลต้า มิเตอร์โฟ และมิเตอร์ไฟว์ ซึ่งสามารถวัดแสงได้ทั้งเดย์ไลท์หรือแอมเบี้ยน และไฟแฟลช
ไฟสตูดิโอซึ่งเป็นไฟแฟลช เครื่องวัดแสงที่ติดมากับกล้องไม่สามารถอ่านค่าของแสงขณะที่แฟลชทำงานหรือ แว็บได้ดังนั้นต้องพึ่งเครื่องวัดแสงที่พูดถึงนั้นครับ
ขั้นแรกวัดแสงไฟหลัก สมมุติว่าได้ค่าที่ f 16 (ตั้งให้เครื่องวัดแสงอ่านเป็นค่าเอฟนัมเบอร์) ไฟรองจะต้องมีความสว่างน้อยกว่าไฟหลัก
"แล้วที่ถ่ายด้วยไฟสองด้านเท่าๆกันละครับ..?? เห็น portrait แบบแฟชั่นทำบ่อยๆ"
หมายความว่าเรโชของไฟเป็น 1 : 1 ครับ คือความสว่างเท่าๆกัน การจัดไฟลักษณะนี้เหมาะกับการถ่ายภาพแฟชั่น ถ่ายภาพวัยรุ่น ถ่ายโฆษณาประเภทครีมหน้าเด้งหรือเครื่องสำอางค์ ที่ต้องการให้รู้สึกถึงความใสบนใบหน้า ไม่ต้องการให้เกิดเงา ที่เรียกว่าไฮย์คีย์High Key คือภาพมีความแตกต่างของน้ำหนักในภาพไม่มากจะออกโทนน้ำหนักขาวหรือ อ่อนเกือบทั้งภาพครับ
สมมุติว่าเราจัดแสงไฟหลักแล้ววัดแสงได้ f 16 จากกนั้นวัดไฟฟิลถ้าได้ f 16 เท่ากันก็คือเรโชของแสงเท่ากับ 1:1 จะไม่มีเฉดหรือเงามืดบนใบหน้า
แต่ถ้าลดกำลังไฟของไฟฟิลให้น้อยลงสมมุติว่า 1 สต๊อป คืดวัดได้ f11 แสงไฟสองดวงจะต่างกัน 1 สต๊อป ค่าเรโชของแสงจะเท่ากับ 2:1 ถ้าต่างกัน 2 สต๊อปเรโชจะเท่ากับ 4:1 ถ้า 3 สต๊อปก็จะเท่ากับ 8:1 บางทีใช้ไฟหลักดวงเดียวค่าเรโชอาจจะเป็น 16:1, 32:1 หรือค่าของแสงต่างกัน 5 สต๊อปก็ยังมีครับ
ส่วนใหญ่ในงานถ่ายภาพเพื่อการพิมพ์ทั่วไปไม่ว่าจะเป็นคนหรือถ่ายสินค้าผมจะ ใช้เรโชที่ 3:1 ครับ คือความแตกต่างของไฟหลักและไฟรองจะอยู่ที่ประมาณ 1สต๊อปครึ่งถึง 1 เศษสองส่วนสามสต๊อปครับ
การวัดแสงผมใช้โดมวัดแสงรูปครึ่งวงกลม เอาไปไว้ในตำแหน่งที่ใกล้วัตถุมากที่สุด แล้วหันโดมไปทางตำแหน่งกล้องนะ ครับ ไม่ใช่หันไปทางตำแหน่งไฟ วัดทีละดวง วัดไฟหลักเสร็จก็มาวัดไฟรอง (ตำแหน่งเครื่องวัดแสงที่เดิมครับ) เมื่อได้ค่าเรโชตามต้องการแล้วก็เปิดไฟพร้อมกัน แล้วเปิดสเลฟให้มันแว๊ปพร้อมกันแล้ววัดอีกทีหนึ่ง จะได้ค่าน้ำหนักของแสงที่เราต้องการ เครื่องวัดแสงจะอ่านค่ารวมไฟสองดวง สมมุติได้ f 16.5 นั่นก็คือเราต้องใช้หน้ากล้องในการถ่ายshotนี้ที่ f 16.5
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น