ระบบปรับความชัด
ภาพที่ดีควรมีจุดสนใจคมชัด ดังนั้นผู้ใช้กล้องควรปรับความชัดที่จุดสนใจให้ชัดทุกๆ ภาพ
ระบบปรับความชัดของกล้องดิจิตอลจะเป็นแบบปรับความชัดอัตโนมัติแบบทีละภาพเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากผู้ใช้กล้องดิจิตอลในระดับมือสมัครเล่นส่วนใหญ่ต้องการความสะดวก เหมาะสำหรับการถ่ายภาพวัตถุที่อยู่นิ่ง ในสภาพแสงไม่น้อยเกินไปนัก ในที่สลัวอาจจะมีปัญหาในการปรับความชัดบ้าง ต้องเอาไฟส่องหรือหาวิธีเพิ่มแสงตรงตำแหน่งจุดปรับความชัด เพื่อให้กล้องสามารถปรับความชัดได้ส่วนกล้องดิจิตอลแบบ SLR หรือกล้องดิจิตอลรุ่นสูงอาจจะมีระบบปรับความชัดโดยผู้ใช้ให้เลือกใช้งาน สามารถปรับความชัดได้ทั้งแบบทีละภาพสำหรับวัตถุที่อยู่นิ่ง และแบบต่อเนื่อง สำหรับวัตถุเคลื่อนไหว รวมทั้งมีระบบดักระยะชัดและเปลี่ยนตำแหน่งปรับความชัดตามการเคลื่อนที่ของวัตถุ
ระบบปรับความชัดอัตโนมัติอาจจะมีปัญหาบ้างในสภาพแสงน้อย ๆ วัตถุไม่มีความเปรียบต่าง ถ่ายภาพผ่านลูกกรงหรือกระจก ให้ใช้ระบบปรับความชัดด้วยมือ หรือปรับระยะชัดที่วัตถุอื่น ๆ ที่มีระยะใกล้เคียงกันก็ได้
ในกรณีที่ถ่ายภาพในระยะใกล้มากเกินไปจนไม่สามารถปรับความชัดได้กล้องจะขึ้นสัญลักษณ์แสดงการเตือนว่าไม่สามารถปรับความชัดได้ เช่น เป็นเครื่องหมายตกใจ หรือคำว่า AF กระพริบหากกล้องมีระบบมาโครให้เปิดระบบมาโคร โดยเข้าไปที่ Menu หรืออาจจะเป็นปุ่มรูปดอกไม้
ระบบปรับความชัดของกล้องดิจิตอลจะเป็นแบบปรับความชัดอัตโนมัติแบบทีละภาพเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากผู้ใช้กล้องดิจิตอลในระดับมือสมัครเล่นส่วนใหญ่ต้องการความสะดวก เหมาะสำหรับการถ่ายภาพวัตถุที่อยู่นิ่ง ในสภาพแสงไม่น้อยเกินไปนัก ในที่สลัวอาจจะมีปัญหาในการปรับความชัดบ้าง ต้องเอาไฟส่องหรือหาวิธีเพิ่มแสงตรงตำแหน่งจุดปรับความชัด เพื่อให้กล้องสามารถปรับความชัดได้ส่วนกล้องดิจิตอลแบบ SLR หรือกล้องดิจิตอลรุ่นสูงอาจจะมีระบบปรับความชัดโดยผู้ใช้ให้เลือกใช้งาน สามารถปรับความชัดได้ทั้งแบบทีละภาพสำหรับวัตถุที่อยู่นิ่ง และแบบต่อเนื่อง สำหรับวัตถุเคลื่อนไหว รวมทั้งมีระบบดักระยะชัดและเปลี่ยนตำแหน่งปรับความชัดตามการเคลื่อนที่ของวัตถุ
ระบบปรับความชัดอัตโนมัติอาจจะมีปัญหาบ้างในสภาพแสงน้อย ๆ วัตถุไม่มีความเปรียบต่าง ถ่ายภาพผ่านลูกกรงหรือกระจก ให้ใช้ระบบปรับความชัดด้วยมือ หรือปรับระยะชัดที่วัตถุอื่น ๆ ที่มีระยะใกล้เคียงกันก็ได้
ในกรณีที่ถ่ายภาพในระยะใกล้มากเกินไปจนไม่สามารถปรับความชัดได้กล้องจะขึ้นสัญลักษณ์แสดงการเตือนว่าไม่สามารถปรับความชัดได้ เช่น เป็นเครื่องหมายตกใจ หรือคำว่า AF กระพริบหากกล้องมีระบบมาโครให้เปิดระบบมาโคร โดยเข้าไปที่ Menu หรืออาจจะเป็นปุ่มรูปดอกไม้
การปรับความชัดในกล้องดิจิตอลมี 2 แบบหลักๆ คือ
1. การปรับความชัดโดยผู้ใช้ (Manual Focus) เวลาปรับความชัดให้ปรับจนภาพที่จอรับภาพมีความคมชัดมากที่สุด แนะนำให้ใช้ยามจำเป็นเท่านั้น
2. ระบบปรับความชัดอัตโนมัติ (Autofocus) กล้องจะปรับความชัดโดยการใช้แสงหรือเสียงยิงไปที่วัตถุแล้วสะท้อนกลับมาเพื่อหาระยะชัด เรียกว่า ระบบ Active Focus หรือใช้การวิเคราะห์ภาพบน Image Sensor ว่ามีความคมชัดหรือไม่ หรือใช้เซ็นเซอร์วิเคราะห์ความชัดหน้าระนาบ CCD เรียกว่า Passive Focus
การปรับความชัดแบบปรับตั้งเอง ให้ดูภาพที่จอรับภาพ หรือดูสัญญาณแสดงความชัด ถ้าสัญญาณติดแสดงว่าภาพชัดแล้ว
การปรับกล้องเข้าสู่ระบบปรับความชัดอัตโนมัตินั้น มักจะมีสวิชทเลือกที่ตัวกล้อง
1. S หรือ Single AF เหมาะกับการถ่ายภาพนิ่ง เมื่อกดปุ่มกดชัตเตอร์ไว้ครึ่งหนึ่งค้างเอาไว้ กล้องจะปรับความชัด รอจนภาพชัด อย่าปล่อยนิ้วมือ จัดภาพ แล้วกดชัตเตอร์ลงไปอีกครึ่ง กล้องจะถ่าภาพที่ต้องการ
2. Continue AF เหมาะกับการถ่ายภาพเคลื่อนไหว เมื่อกดปุ่มกดชัตเตอร์ลงไปครึ่งหนึ่ง กล้องจะปรับความชัดติดตามวัตถุกลางภาพตลอดเวลา จนกว่าจะปล่อยปุ่มกดชัตเตอร์
กล้องบางตัวมีระบบเลือกตำแหน่งปรับความชัดได้หลายระบบเช่น
1. Wide area สามารถเลือกตำแหน่งปรับความชัดได้
2. Center ปรับความชัดที่จุดกลางภาพเท่านั้น
3. Multi กล้องเลือกตำแหน่งปรับความชัดให้อัตโนมัติ
โดยปกติแนะนำให้ใช้แบบ Center AF จะแม่นยำและสะดวกมากกว่า
2. Center ปรับความชัดที่จุดกลางภาพเท่านั้น
3. Multi กล้องเลือกตำแหน่งปรับความชัดให้อัตโนมัติ
โดยปกติแนะนำให้ใช้แบบ Center AF จะแม่นยำและสะดวกมากกว่า
ระบบล็อคความชัดและล็อคความจำแสง
เมื่อถ่ายภาพโดยให้จุดสนใจอยู่กลางภาพ ภาพมักไม่มีปัญหาอะไร ทั้งเรื่องแสงและเรื่องความชัด แต่เมื่อให้วัตถุไปอยู่ที่ตำแหน่งอื่นๆ ทำให้ตำแหน่งปรับความชัดที่อยู่กลางภาพไปวิเคราะห์ความชัดที่จุดอื่นๆ ซึ่งไม่ใช่จุดสนใจ รวมไปถึงไปวัดแสงในส่วนอื่นๆ ที่ไม่ใช่จุดสนใจได้ผลคือภาพไม่ชัดหรือไปชัดที่อื่นซึ่งไม่ใช่จุดที่เราต้องการให้ชัด และภาพจะสว่างหรือมืดไปจากที่ควรจะเป็น
การแก้ปัญหา ผู้ผลิตกล้องสร้างระบบล็อคความชัดและล็อคความจำแสงเอาไว้ วิธีการใช้ให้เล็งกลางช่องมองภาพไปที่จุดสนใจจากนั้นกดชัตเตอร์ลงไปครึ่งหนึ่ง ให้กล้องปรับความชัดเรียบร้อย กดชัตเตอร์ค้างเอาไว้อย่าปล่อย กล้องจะล็อคความชัดและความจำแสงเอาไว้ จากนั้นจัดองค์ประกอบภาพใหม่ตามที่ต้องการจะได้ภาพที่ชัดเจนและแสงใกล้เคียงความเป็นจริงมากยิ่งขึ้น ต้องระวังเวลากดชัตเตอร์ ต้องกดชัตเตอร์ 2 จังหวะ อย่ากดที่เดียว กล้องจะปรับความชัดไม่ทันทำให้ภาพเบลอ
การล็อคความชัดและความจำแสง ควรกระทำเมื่อจุดสนใจไม่ได้อยู่กลางภาพหรือแสงที่จุดสนใจและฉากหลังมีความแตกต่างกันมาก จะลดโอกาสที่ภาพจะเสียลดลง
การแก้ปัญหา ผู้ผลิตกล้องสร้างระบบล็อคความชัดและล็อคความจำแสงเอาไว้ วิธีการใช้ให้เล็งกลางช่องมองภาพไปที่จุดสนใจจากนั้นกดชัตเตอร์ลงไปครึ่งหนึ่ง ให้กล้องปรับความชัดเรียบร้อย กดชัตเตอร์ค้างเอาไว้อย่าปล่อย กล้องจะล็อคความชัดและความจำแสงเอาไว้ จากนั้นจัดองค์ประกอบภาพใหม่ตามที่ต้องการจะได้ภาพที่ชัดเจนและแสงใกล้เคียงความเป็นจริงมากยิ่งขึ้น ต้องระวังเวลากดชัตเตอร์ ต้องกดชัตเตอร์ 2 จังหวะ อย่ากดที่เดียว กล้องจะปรับความชัดไม่ทันทำให้ภาพเบลอ
การล็อคความชัดและความจำแสง ควรกระทำเมื่อจุดสนใจไม่ได้อยู่กลางภาพหรือแสงที่จุดสนใจและฉากหลังมีความแตกต่างกันมาก จะลดโอกาสที่ภาพจะเสียลดลง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น