วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552

กล้องดิจิตอล

กล้องดิจิตอล
กล้องถ่ายภาพที่ใช้ฟิล์ม ฟิล์มจะทำหน้าที่บันทึกภาพและเก็บภาพไปด้วย แต่สำหรับกล้องดิจิตอลแล้ว การบันทึกภาพเป็นหน้าที่ของ Image Sensor ส่วนการเก็บภาพ เป็นหน้าที่ของการ์ดเก็บข้อมูล หากกล้องทำหน้าที่เก็บข้อมูลภาพแล้ว จะต้องมีการโอนข้อมูลจากตัวกล้องไปยังแหล่งเก็บข้อมูลอื่น ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ มิเช่นนั้น หน่วยความจำของกล้องจะเต็ม ไม่สามารถถ่ายภาพต่อไปได้อีก จนกว่าจะมีการลบภาพจากหน่วยความจำทิ้ง เพื่อให้มีที่ว่างในหน่วยความจำ ของตัวกล้อง จึงจะสามารถบันทึกภาพต่อไปได้อีกการถ่ายภาพสามารถทำได้หลากหลายวิธี เช่น ถ่ายภาพด้วยฟิล์มสไลด์สี ด้วยฟิล์มขาวดำ ด้วยฟิล์มเนกาติฟสี แต่วิธีที่สะดวก รวดเร็ว ง่าย และประหยัดมากที่สุดคือ การถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตอล ซึ่งผูใช้จะสามารถดูภาพที่ถ่ายได้ทันทีว่าเป็นอย่างไร อุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดในการถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตอลก็คือ กล้องดิจิตอล โครงสร้างของกล้องดิจิตอลไม่ได้แตกต่างไปจากโครงสร้างของกล้องถ่ายภาพนัก และวิธีการใช้งานก็ไม่ได้แตกต่างกันมากอีกด้วย ส่วนประกอบของกล้องดิจิตอล ยังคงมีเลนส์ มีตัวกล้อง มีม่านชัตเตอร์ ต้องปรับความชัด ต้องวัดแสง ต้องตั้งความเร็วชัตเตอร์ ต้องตั้งขนาดช่องรับแสง ยังคงต้องจัดองค์ประกอบภาพ และใช้ศิลปะในการถ่ายภาพ จึงจะได้ภาพที่ดี เช่นเดียวกับกล้องใช้ฟิล์ม สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ กล้องใช้ฟิล์มใช้ฟิล์มเป็นอุปกรณ์รับแสงและบันทึกภาพ ส่วนกล้องดิจิตอลใช้ Image Sensor หรือ CCDs ในการรับแสง

ชนิดของกล้องดิจิตอล
เราสามารถแบ่งกล้องดิจิตอลออกเป็นชนิดต่างๆ เช่นเดียวกับกล้องที่ใช้ฟิล์ม ในความเป็นจริง กล้องดิจิตอลไม่จำเป็นต้องมีรูปร่างเหมือนกล้องใช้ฟิล์ม สามารถสร้างกล้องในรูปแบบใหม่ ๆ ให้แตกต่างไปจากกล้องใช้ฟิล์มได้ เพราะกล้องดิจิตอลไม่จำเป็นต้องมีช่องมองภาพ ไม่จำเป็นต้องมีกระจกสะท้อนภาพ ไม่จำเป็นต้องมีม่านชัตเตอร์ ไม่ต้องมีกระจกห้าเหลี่ยมหรือ Prism เพื่อกลับภาพเหมือนกล้องใช้ฟิล์ม เราจึงเห็นรูปร่างของกล้องดิจิตอลออกมาในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น คล้ายกล้องวิดีโอ เป็นกล่องสี่เหลี่ยมเล็กจนน่าทึ่ง เป็นทรงกลม ฯลฯ ซึ่งกล้องใช้ฟิล์มไม่สามารถทำรูปทรงแบบนั้นได้ เพราะกล้องใช้ฟิล์มมีส่วนประกอบที่จำเป็นอยู่มากมาย เช่น ต้องมีห้องสำหรับบรรจุฟิล์ม มีระบบทางเดินแสง มีช่องมองภาพ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตกล้องดิจิตอลหลายรายพยายามออกแบบกล้องดิจิตอลให้เหมือนกับกล้อง 35มม. เพราะต้องการให้ผู้ใช้คุ้นเคย มีเสียงทำงานของชัตเตอร์ มีรูปทรงเหมือนกล้องใช้ฟิล์ม


เราสามารถจำแนกประเภทของกล้องดิจิตอลออกเป็น 2 รูปแบบด้วยกันคือ
1.กล้องดิจิตอลสำหรับมือสมัครเล่น (Consumer Digital Cameras) เป็นกล้องประเภทพกง่ายถ่ายภาพสะดวก (Point & Shoot) มีขนาดเล็กกะทัดรัด ไม่จำกัดรูปทรง มีแม้กระทั่งเป็นโทรศัพท์มือถือ หรือคอมพิวเตอร์พกพา ราคาไม่แพง ระบบถ่ายภาพแบบอัตโนมัติเป็นหลัก บางรุ่นสามารถปรับตั้งระบบการทำงานต่าง ๆ ได้ เช่น ระบบวัดแสง ระบบแฟลช ระบบปรับสมดุลสีของแสง ฯลฯ ความละเอียดของภาพจะอยู่ประมาณ 3-4 ล้านพิกเซลหรือต่ำกว่า ไม่สามารถถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ เหมาะสำหรับถ่ายภาพบันทึกเหตุการณ์ ใช้ถ่ายภาพเพื่อทำ Web page ใช้แทนกล้องแบบคอมแพค ขยายภาพได้ในระดับไม่เกิน 8x12 นิ้วเป็นอย่างมาก สามารถเลือกถ่ายภาพความละเอียดต่ำเพื่อใช้ในการส่ง E-Mail ได้ เช่น Nikon CoolPix 750 , Fuji FinePix 2800 zoom เป็นต้นกล้องดิจิตอลระดับมือสมัครเล่นยังแบ่งออกเป็น กล้องระดับมือสมัครเล่นธรรมดา (Consumer Digital Camera) สำหรับใช้งานทั่วไป ซึ่งได้กล่าวถึงไปแล้ว ยังมีกล้องดิจิตอลสำหรับมือสมัรเล่นระดับสูง หรือ Prosumer Digital Camera หรืออาจจะบอกว่า เป็นกล้องกึ่งมืออาชีพก็ได้ 2. กล้องในระดับ Prosumer จะมีระบบการทำงานที่ดีขึ้นไปอีก เช่น มีระบบวัดแสงผ่านเลนส์ ปรับความชัดผ่านเลนส์ (Passive Focus) สามารถเลือกระบบถ่ายภาพได้ เช่น ระบบปรับตั้งค่าการเปิดรับแสงโดยผู้ใช้ (Manual Mode) เลือกอุณหภูมิสีของแสง หรือตั้งสมดุลย์สีของแสงโดยการเช็คกับแสงที่ใช้จริง ที่เรียกว่า Custom White-balance สามารถตั้งระยะชัดเองได้ เลือกจุดปรับความชัดได้ ล็อคค่าแสงได้ ฯลฯ ทำให้สามารถนำไปใช้งานกับแฟลชสตูดิโอ หรือใช้งานจริงจังได้ความละเอียดของภาพจากกล้องกลุ่มนี้จะอยู่ที่ 3 ถึง 6 ล้านพิกเซล มีคุณภาพสูงสำหรับการขยายภาพขนาดใหญ่ หรือใช้งานงานพิมพ์ได้ กล้องในกลุ่มนี้มักออกแบบให้ใกล้เคียงกับกล้องใช้ฟิล์ม แต่ยังคงไม่มีม่านชัตเตอร์ หรือระบบมองภาพผ่านเลนส์ที่ใช้ถ่ายภาพเหมือนกล้อง 35MM.SLR ส่วนใหญ่ยังเป็นกล้องแบบ Rangefinder หรือมองภาพจากจอ LCD เช่น Olympus E-20 , Nikon CoolPix 5000, Fuji FinePix S602zoom เป็นต้น
ส่วนประกอบและหน้าที่ของส่วนต่าง ๆ ของกล้องดิจิตอล
1. Mode Switch เป็นสวิชท์สำหรับเลือกระบบการทำงานของกล้อง รูปกล้องคือระบบถ่ายภาพนิ่ง รูปสามเหลี่ยมสำหรับดูภาพที่บันทึกอยู่ในการ์ดเก็บข้อมูล และรูปกล้องภาพยนตร์คือ ระบบถ่ายภาพวิดิโอ ซึ่งกล้องดิจิตอลปัจจุบันสามารถถ่ายภาพวิดิโอความเร็วต่ำ (ประมาณ 15 ภาพ/วินาที) ในระยะเวลาสั้นๆ (ประมาณ 80 วินาที)

2. ปุ่มกดชัตเตอร์ ทำหน้าที่เหมือนปุ่มกดชัตเตอร์ของกล้องใช้ฟิล์ม เมื่อกดลงไปครึ่งหนึ่ง กล้องจะปรับระยะชัด วัดแสง และล็อคค่าแสงกับระยะชัดเอาไว้ เมื่อต้องการถ่ายภาพให้กดชัตเตอร์ลงไปจนสุด กล้องจะถ่ายภาพเอาไว้ และบันทึกภาพลงการ์ดเก็บข้อมูลการถ่ายภาพจะมีให้เลือก 3 รูปแบบคือ Preview แสดงภาพที่ถ่ายได้ให้เห็นบนจอ LCD แล้วถามว่าจะบันทึกภาพลงการ์ดหรือไม่ ผู้ใช้สามารถเลือกจะเก็บภาพหรือลบภาพทิ้งก็ได้Postview แสดงภาพที่ถ่ายได้ประมาณ 2 วินาทีให้เห็นบนจอ LCD แล้วบันทึกภาพลงการ์ดเลย ไม่มีการถามว่าจะบันทึกหรือไม่OFF ไม่มีการแสดงภาพที่ถ่ายได้บนจอ LCD เพื่อความรวดเร็วในการทำงานและประหยัดแบตเตอรี่ของกล้อง จะบันทึกภาพลงการ์ดเลย

3. แฟลช สำหรับให้แสงในสภาพแสงน้อย ลบเงา ฯลฯ ทำงานเหมือนกล้องใช้ฟิล์ม สามารถเลือกเปิด ปิด และมีระบบการทำงานต่าง ๆ ให้เลือกใช้ประมาณ 4-6 ระบบ เช่น เปิด ปิด แฟลชแก้ตาแดง แฟลชลบเงา แฟลชถ่ายภาพกลางคืน แฟลชในกล้องดิจิตอลจะมีกำลังต่ำมาก ๆ เพราะ Image Sensor ของกล้องดิจิตอลมักมีความไวแสงสูงอยู่แล้ว และต้องการประหยัดพลังงานกล้องด้วย ส่วนใหญ่ใช้งานได้ในระยะไม่เกิน 3 เมตร

4. Self-Timer Lamp เป็น LED สำหรับแสดงการทำงานของ Self-timerหรือระบบตั้งเวลาถ่ายตัวเองเหมือนกล้องใช้ฟิล์ม

5. Lens Cover หรือฝาปิดหน้าเลนส์ทำหน้าที่ปกป้องเลนส์แทนฝาครอบเลนส์ ทำจากพลาสติกหรือโลหะน้ำหนักเบา เช่น อลูมิเนียม แมกนีเซียม ถ้าฝาไม่เปิดออก กล้องจะไม่ทำงาน

6. เลนส์ถ่ายภาพ ทำหน้าที่รวมแสงให้ไปตกที่ Image Sensor ปรับระยะชัด เลนส์จะมีผลมากต่อคุณภาพของภาพที่ได้ ส่วนใหญ่ใช่เลนส์ซูม เลนส์ของกล้องดิจิ-ตอลระดับ Consumer จะถอดเปลี่ยนไม่ได้ แต่เป็นหน่วยเดียวกับ Image Sensor หากมีการเปลี่ยนเลนส์จะต้องเปลี่ยน Image Sensor ด้วย เพราะเป็นชิ้นเดียวกัน ตัวเลนส์จะมีระบบป้องกันฝุ่นและความชื้นที่ดีมาก เพื่อป้องกันมิให้ Image Sensor มีฝุ่นเกาะ

7. Power Switch หรือปุ่มเปิดการทำงานของกล้อง ทำหน้าที่เปิดปิดกล้อง

8. Flash Control Sensor หรือเซลวัดแสงแฟลช กล้องดิจิตอลสำหรับมือสมัครเล่นมักเป็นแบบวัดแสงภายนอก ไม่ได้เป็นระบบวัดแสงแฟลชผ่านเลนส์เหมือนกล้องแบบ 35mm.SLR เซ็นเซอร์ทำหน้าที่ตัดแสงแฟลชเมื่อแสงเพียงพอ ป้องกันภาพรับแสงมากเกินไป ทำงานได้ดีในระยะปานกลาง ถ้าเข้าใกล้มาก ๆ มักทำงานผิดพลาด

9. Viewfinder Window หรือหน้าต่างช่องมองภาพ เป็นส่วนหนึ่งของช่องมองภาพกล้องดิจิตอลสำหรับมือสมัครเล่นส่วนมากจะเป็นแบบ Rangefinder หรือช่องมองภาพกับเลนส์ถ่ายภาพเป็นคนละตัวกัน เช่นเดียวกับกล้องคอมแพคที่ใช้ฟิล์ม ผู้ใช้กล้องดิจิตอลส่วนใหญ่จะมองภาพทางจอ LCD เพราะจัดองค์ประกอบได้ง่าย ไม่ผิดเพี้ยนเหมือนการดูภาพจากช่องมองภาพ แต่ช่องมองภาพก็ยังคงมีความจำเป็นในกรณีที่แสงไม่พอ ทำให้ไม่สามารถใช้จอ LCD ได้ หรือในกรณีที่ต้องการประหยัดแบตเตอรี่กล้อง

10. USB Socket เป็นช่องเสียบสาย USB สำหรับเชื่อมต่อกล้องเข้ากับคอมพิวเตอร์ เพื่อโอนข้อมูลในการ์ด ใช้กล้องเป็น PC Camera การเชื่อมต่อกล้องกับคอมพิวเตอร์มีหลายระบบ กล้องรุ่นเก่า ๆ จะใช้สายแบบ Serial Port หรือ Palarel Port รุ่นใหม่จะเป็น USB SCSI หรือ Firewire

11. Power Input Socket สำหรับเสียบเข้ากับหม้อแปลงไฟ เพื่อใช้กระแสไฟฟ้าจากภายนอก หรือชาร์จแบตเตอรี่เข้ากล้อง ใช้ในกรณีที่ถ่ายภาพมาก ๆ หรือนาน ๆ แล้วสามารถใช้กระแสไฟบ้านได้ จะช่วยประหยัดค่าแบตเตอรี่กล้องและยืดอายุแบตเตอรี่ได้

12. ช่องมองภาพ สำหรับมองภาพที่จะถ่าย ภายในช่องมองภาพของกล้องดิจิตอลราคาถูกจะไม่มีการแสดงข้อมูลใด ๆ ส่วนกล้องแบบราคาปานกลาง อาจจะมีการแสดงข้อมูลการถ่ายภาพไว้ให้ ช่องมองภาพของกล้องดิจิตอลจะมี 2 แบบคือ ช่องมองภาพแบบ Rangefinder เป็นช่องมองภาพที่แสดงภาพจริง เหมือนกล้องคอมแพคที่ใช้ฟิล์มทั่วไป อีกประเภทคือ Electronic Rangefinder ในช่องมองภาพจะมีจอ LCD ขนาดเล็กคล้ายกล้องวิดิโอ ภาพที่เห็นจึงไม่ใช่ภาพจริง แต่เป็นภาพจากจอ LCD ซึ่งมาจาก Image Sensor ของกล้อง ภาพจะมีการกระตุกเล็กน้อย และไม่เหมาะกับการใช้งานในสภาพแสงน้อยมาก ๆ จะมองภาพไม่เห็น

13. Viewfinder Lamp ใช้บอกความพร้อมของกล้อง ความพร้อมของแฟลชหรือความพร้อมของระบบปรับความชัดหากกล้องไม่พร้อมทำงานจากระบบใดระบบหนึ่ง แสงมักจะกระพริบ

14. LCD Monitor เป็นส่วนประกอบภายนอกที่ทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างกล้องใช้ฟิล์มและกล้องดิจิตอล กล้องดิจิตอลจะมีจอ LCD ด้านหลังเสมอ เพื่อใช้ดูภาพแทนช่องมองภาพ ดูข้อมูลต่าง ๆ ที่ใช้ในการถ่ายภาพ เช่น วัน เวลา จำนวนภาพที่ถ่ายได้ ค่าเปิดรับแสง ระบบการทำงานต่าง ๆ และใช้ดูภาพที่เก็บลงการ์ดเก็บข้อมูล

15. ******* Cover หรือฝาปิดช่องใส่แบตเตอรี่

16. Tripot mount เป็นช่องสำหรับติดกับขาตั้ง

17. ******* Compartment แบตเตอรี่ที่ใช้กับกล้องดิจิตอลจะมีหลายลักษณะ เช่น แบตเตอรี่ AA, Lithium Ion , Nikle-Metal Hydride ส่วนใหญ่จะนิยมใช้แบตเตอรี่แบบชาร์จได้ เพราะประหยัด และให้กำลังไฟสูงต่อเนื่องดีกว่าแบบ Alkalai ก่อนใช้งานควรดูจากคู่มือกล้องว่าแนะนำแบตเตอรี่ชนิดใด กล้องบางตัวไม่แนะนำให้ใช้แบตเตอรี่แบบ Carbon-Zinc และ Alkalai

18. Smart Media Slot หรือช่องเสียบการ์ดเก็บข้อมูล กล้องดิจิตอลใช้การ์ดเก็บข้อมูลหลายรูปแบบ เช่น Floppy Disk , CD , SmartMedia , Compact Flash, Memory Stick ซึ่งแต่ละรูปแบบมีข้อได้เปรียบเสียเปรียบแตกต่างกันออกไป ส่วนใหญ่จะใช้ CompactFlash และ SmartMedia

19. Strap Mount สำหรับคล้องสายสะพายกล้อง

20. Back Botton ทำหน้าที่ “ยกเลิก” หรือ “ย้อนกลับ”ในการปรับตั้งระบบการทำงานของกล้อง

21.Menu/Ok Botton ทำหน้าที่ “ตอบรับ” เหมือนปุ่ม Enter ในคอมพิวเตอร์ และใช้เป็นปุ่ม Menu เพื่อเข้าสู่การปรับตั้งระบบการทำงานของกล้อง

22. ใช้สำหรับเลื่อนคำสั่งขึ้นบนลงล่าง และใช้ในการซูมภาพ

23. ใช้ในการเลื่อนคำสั่งไปซ้ายขวา เลื่อนภาพเวลาดูภาพ

24. Disp Botton ใช้เปิดจอ LCD ด้านหลังกล้องให้ทำงานเปิดสกรีนแบบตาราง หรือเลือกระบบการดูภาพเมื่ออยู่ในระบบดูภาพที่ถ่านในการ์ดเก็บข้อมูล








ข้อมูลบนจอ LCD เมื่ออยู่ในระบบถ่ายภาพนิ่ง
1. รูปดอกไม้ แสดงการเข้าสู่ระบบถ่ายภาพระยะใกล้ กล้องดิจิตอลจะมีระบบถ่ายภาพระยะใกล้ แต่ต้องเข้าสู่ระบบถ่ายภาพใกล้เสียก่อน ซึ่งเมื่อเข้าสู่ระบบถ่ายใกล้ จะมีสัญลักษณ์รูปดอกไม้ขึ้นมา

2. Flash แสดงระบบแฟลชที่ปรับตั้งอยู่

3. Photography Mode แสดงระบบถ่ายภาพที่ใช้งาน

4. Zoom Bar แสดงระดับทางยาวโฟกัสของเลนส์ที่ใช้งาน ถ้าสเกลอยู่ล่างแสดงว่าใช้ช่วงมุมกว้าง ถ้าสเกลอยู่บน แสดงว่าใช้ที่เทเลโฟโต้ บางครั้งสเกลแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนล่างเป็น Optical Zoom ส่วนด้านบนเป็น Digital Zoom

5. AF Frame แสดงตำแหน่งที่กล้องทำการปรับความชัด กล้องบางตัวอาจจะมีตำแหน่งปรับความชัดหลายตำแหน่งให้เลือกใช้งาน

6. Date แสดงวัน เดือน ปี

7. AF Warning เป็นสัญลักษณ์เตือนว่ากล้องไม่สามารถปรับความชัดให้ได้ อาจจะเป็นที่แสงน้อยจนเกินไป หรือวัตถุที่ปรับความชัดไม่มีความเปรียบต่าง กล้องดิจิตอลจะมีระบบปรับความชัด 2 รูปแบบคือ Active Focus ใช้วิธีการยิงแสงอินฟราเรดเพื่อหาระยะของวัตถุที่ต้องการปรับความชัด และ Passive Focus ปรับความชัดโดยการใช้เซ็นเซอร์ภายในกล้องทำการวิเคราะห์ความชัดของภาพจากความเปรียบต่าง เป็นการหาระยะชัดผ่านเลนส์ ซึ่งมีความแม่นยำมากกว่า แต่จะมีปัญหาทำงานไม่ได้ในสภาพแสงน้อย ๆ

8. Camera Shake Warning จะเตือนผู้ใช้ว่า ความเร็วชัตเตอร์ต่ำมาก ให้ระวังการสั่นไหวของภาพ

9. ******* low warning เตือนผู้ใช้ว่าแบตเตอรี่เหลือน้อย ให้เปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่ หรือให้ชาร์จแบตเตอรี่

10. File size/Image Quality บอกขนาดภาพ และระดับคุณภาพของภาพที่เลือกเอาไว้

11. Number of remaining shot บอกจำนวนภาพที่ยังถ่ายได้ จะนับถอยหลัง และตัวเลขมีค่าไม่แน่นอน ขึ้นกับขนาดของการ์ดเก็บข้อมูล ความละเอียดของภาพ และระดับคุณภาพ

12. White Balance แสดงระบบปรับสมดุลสีของแสงที่ใช้งานอยู่

13. Self-Timer แสดงระบบการถ่ายตัวเองตัวอย่างของกล้องระดับ Prosumer Fujifilm FinePix S7000 เป็นกล้องที่รูปร่างคล้ายกล้องแบบ SLR Compact เช่น Olympus IS 200 ซึ่งเป็นกล้องใช้ฟิล์ม แต่สำหรับกล้อง S7000 เป็นกล้องแบบ Electronic Rangefinder คือ ในช่องมองภาพเป็นจอ LCD แบบกล้องวิดีโอ มีระบบถ่ายภาพให้เลือกใช้มากมาย ทั้งระบบถ่ายภาพแบบปรับตั้งเอง (Manual) ปรับตั้งความเร็วชัตเตอร์และขนาดช่องรับแสงได้ สำหรับใช้งานในสตูดิโอ หรือใช้ในงานอาชีพ มีสเกลแสงค่าวัดแสง มีฐานเสียบแฟลช ใช้ร่วมกับแฟลชภายนอกได้ ตั้งสมดุลสีของแสงจากแสงที่ใช้งานจริงได้ ความละเอียดของภาพสูงถึง 6 ล้านพิกเซล (Effective) เลือกความไวแสงได้ ฯลฯ

ส่วนประกอบและหน้าที่ของส่วนต่าง ๆ
1. Continuous Shooting ตั้งระบบถ่ายภาพต่อเนื่อง กล้องดิจิตอลบางตัวสามารถถ่ายภาพต่อเนื่องได้ 2-5 ภาพ/วินาที บางรุ่นได้มากกว่า 10 ภาพ/วินาที แต่จำนวนภาพที่ถ่ายได้จะมีจำกัดเพราะขนาดของหน่วยความจำชั่วคราวที่ตัวกล้องมีจำกัด เช่น บางรุ่นได้ 5 ภาพ/วินาที จำนวน 10 ภาพเท่ากับสามารถถ่ายภาพได้ต่อเนื่องเพียง 2 วินาทีเท่านั้น ต้องรอให้กล้องเก็บภาพลงการ์ดเก็บข้อมูลเสียก่อน เพื่อให้หน่วยความจำชั่วคราวที่ตัวกล้องมีพื้นที่ว่าง จึงจะสามารถถ่ายภาพต่อได้

2. Mode Dial ใช้เลือกระบบถ่ายภาพ จะเห็นว่ากล้องระดับ Prosumer มี ระบบให้เลือกใช้งานมากมายไม่แพ้กล้องระดับโปรหรือกล้อง 35mm.SLR Set สำหรับตั้งระบบการทำงานของกล้อง M คือ ระบบถ่ายภาพปรับตั้งเอง สามารถเลือกความเร็วชัตเตอร์ ช่องรับแสง และมีสเกลวัดแสงให้ใช้งาน A คือ ระบบความเร็วชัตเตอร์อัตโนมัติ ผู้ใช้เลือกขนาดช่องรับแสงกล้องวัดแสงและตั้งความเร็วชัตเตอร์ให้อัตโนมัติ S คือ ระบบช่องรับแสงอัตโนมัติ ผู้ใช้ตั้งความเร็วชัตเตอร์ กล้องวัดแสงและตั้งช่องรับแสงให้อัตโนมัติ P คือ ระบบโปรแกรม ผู้ใช้ไม่ต้องตั้งทั้งความเร็วชัตเตอร์และช่องรับแสง กล้องทำให้อัตโนมัติทั้งหมด Auto หรือ อัตโนมัติทั้งหมด คล้ายๆ กับ Green Zone ของ Canon คือ กล้องปรับทุกระบบอัตโนมัติทั้งหมด ไม่เฉพาะแต่ค่าเปิดรับแสงเท่านั้น SP หรือ Special Program เป็นโปรแกรมถ่ายภาพแบบต่างๆ 4 รูปแบบตามลักษณะภาพที่ต้องการถ่าย เช่น โปรแกรมถ่ายภาพบุคคล โปรแกรมถ่ายภาพทิวทัศน์ โปรแกรมถ่ายภาพเคลื่อนไหว โปรแกรมถ่ายภาพกลางคืน ฯลฯ

3. Focusing Ring สำหรับปรับความชัดโดยผู้ใช้ หรือ Manual Focus

4. Hot Shoe สำหรับใช้กับแฟลชภายนอกกล้อง หรือเสียบ Hot-shoe Adapter ให้ใช้กับแฟลชสตูดิโอได้

5. ปุ่ม AE-L หรือปุ่มล็อคค่าความจำแสงสำหรับล็อคค่าแสงไม่ให้เปลี่ยนแปลงกับระบบถ่ายภาพแบบ A ,S, P

6. ปุ่ม Focus Check สำหรับขยายภาพที่จอ LCD ตรงตำแหน่งปรับความชัด เพื่อให้ดูภาพได้ชัดเจนขึ้นในกรณีที่ปรับความชัดโดยผู้ใช้

7. ปุ่ม EVF/LCD ปุ่มเปิดจอ LCD ที่ช่องมองภาพ หรือจอ LCD ที่ด้านหลังกล้อง

8. SHIFT ใช้ร่วมกับปุ่ม Menu หรือปุ่มอื่น ๆ ในการปรับตั้งระบบกล้อง

9. 4 directionbottonใช้ในการเลื่อนคำสั่งขึ้นลงซ้ายขวาหรือเลื่อนภาพไปตำแหน่งต่าง ๆ

10. Command Dial สำหรับเลือกปรับตั้งค่าต่าง ๆ เช่นความเร็วชัตเตอร์ช่องรับแสง11. Flash Pop-up botton สำหรับเปิดแฟลช

12. Focus Mode Selector Switch สำหรับเลือกระบบปรับความชัดอัตโนมัติ หรือปรับความชัดโดยผู้ใช้

13. Info กดปุ่มนี้เมื่อต้องการดูข้อมูลต่าง ๆ บนจอ LCD

14. Video Out Socket สำหรับดูภาพทางจอ TV

15. AF/Custom White balance socket สำหรับปรับตั้งสมดุลสีของแสงจากแสงที่ใช้จริง และใช้ในการสั่งใกล้กล้องปรับความชัด

16. Exposure Compensation Botton ใช้ในการชดเชยแสง ให้ภาพสว่างและมืดลงจากที่วัดแสงได้








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น