วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ช่วงแห่เข้าวัด

ตามประเพณีนิยม มักปลงผมนาค และทำขวัญนาคที่บ้านของเจ้านาค วันรุ่งขึ้นจึงมีขบวนแห่ไปยังวัด แล้วแห่นาคไปยังโบสถ์ เวียนโบสถ์สามรอบแบบทักษิณาวรรต พร้อมด้วยเครื่องอัฏฐบริขารที่ใช้ในการบวช และของที่ถวายพระ จนครบแล้วจะให้นาคมาวันทาสีมา ส่วนเครื่องอัฏฐบริขาร และของถวายพระ จะนำไปตั้งในโบสถ์ก่อน

การวันทาสีมา นาคจะจุดธูปเทียนที่เสมาหน้าโบสถ์ แล้วนั่งคุกเข่าประนมมือกล่าวคำวันทาสีมา ดังนี้

แบบที่หนึ่ง อิมินา สกฺกาเร พทฺธเสมายํ พุทฺธํ อภิปูชยามิ อิมินา สกฺกาเร พทฺธเสมายํ ธมฺมํ อภิปูชยามิ อิมินา สกฺกาเร พทฺธเสมายํ สงฺฆํ อภิปูชยามิ แล้วกราบปักดอกไม้ ธูปเทียน ณ ที่จัดไว้



แบบที่สอง อุกาส วนฺทามิ ภนฺเต สพฺพํ อปราธํ ขมถ เม ภนฺเต มยา กตํ ปญฺญํ สามินา อนุโมทิตพฺพํ สามินา กตํ ปุญญํ มยฺหํ ทาตพฺพํ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ แล้วกราบ ปักดอกไม้ธูปเทียน ณ ที่จัดไว้





เมื่อวันทาเสมาเสร็จแล้ว นำนาคมาที่หน้าโบสถ์ นาคจะโปรยทาน



การถ่ายรูป



ถ้าหากช่วงเช้ามีเลี้ยงพระเช้าก็ไปถ่ายบรรยากาศเก็บไว้สักหน่อยพอถึงเวลางานจริง ก็จะมีการเวียนโบสถ์ช่วงนี้ ต้องถ่ายเก็บบุคคลสำคัญ ๆ ในงานให้ได้นะครับลำดับแรกเลย ก็คือ นาค ที่จะเตรียมเป็นพระแหละครับลำดับถัดมาคือ พ่อแม่ของนาค ปกติ พ่อจะอุ้มบาต แม่จะอุ้มไตรบางงาน ไตรจะมีมากกว่า 1 ชุด ก็คงต้องเก็บให้ครบนะครับ ส่วนใหญ่ พ่อแม่ จะเดินอุ้มบาตรอุ้มไตรกันจนครบ 3 รอบ แต่บางครั้ง ก็จะส่งต่อให้ญาติพี่น้อง หรือผู้ที่เคารพนับถือ ได้เปลี่ยนมาอุ้มบาตรอุ้มไตร ก็ต้องถ่ายเก็บให้ครบนะครับรูปตัวอย่างนี้ใช้ไม่ได้นะ ไม่เห็นหน้าพ่อแม่นาคเลย




บรรยากาศ ขบวนแห่นาคก็เป็นอีกสิ่งที่สำคัญ พยายามเก็บคนในขบวนแห่ให้ได้ครบ ก็จะเยี่ยมมาก เพราะบางงาน เจ้าภาพ มาดูรูปแล้วถึงได้รู้ว่า อ้าว คนนี้มางานเราด้วยเหรอ ตรงนี้แหละครับ เป็นความสำเร็จของช่างภาพ



อย่าลืมถ่ายรูปนาคไว้ด้วยนะครับ ยิ่งถ้าบางงาน มีคนแบกนาคแห่รอบโบสถ์ ยิ่งต้องถ่ายให้เห็นคนแบกด้วยนะ

















































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น